นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 28 ก.พ.53 มีจำนวน 4.075 ล้านล้านบาท คิดเป็น 41.90% ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 66,723 ล้านบาท จากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เพิ่มขึ้น 68,285 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น 2,571 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้น 869 ล้านบาท แต่หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ลดลง 5,002 ล้านบาท ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีหนี้คงค้างที่
โดยการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 68,285 ล้านบาท เกิดจากรัฐบาลได้เบิกเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ปี 52 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ 53 จำนวน 40,000 ล้านบาท และได้ดำเนินการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 20,000 ล้านบาท และออกตั๋วเงินคลัง จำนวน 64,000 ล้านบาท ไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง ที่ครบกำหนด จำนวน 55,000 ล้านบาท
ส่วนหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นสุทธิ 2,571 ล้านบาท เกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันในส่วนของหนี้ต่างประเทศ เนื่องจากรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเบิกจ่ายเงินกู้จากแหล่งเงินกู้ต่างๆ สูงกว่าการชำระคืนต้นเงินกู้ ขณะที่หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 5,เกิดจากการซื้อคืนพันธบัตรของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน
โดยยอดหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด แยกเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2.713 ล้านล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1.101 ล้านล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 191,029 ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 69,633 ล้านบาท
สัดส่วนหนี้สาธารณะ แยกเป็นหนี้ต่างประเทศ 379,550 ล้านบาท คิดเป็น 9.31% และหนี้ในประเทศ 3.695 ล้านล้านบาท ติดเป็น 90.69% ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 3.815 ล้านล้านบาท คิดเป็น 93.63% และหนี้ระยะสั้น 259,618 ล้านบาท คิดเป็น 6.37%