ผู้เชี่ยวชาญคาดญี่ปุ่นอาจเผชิญภาวะล่มสลายทางการเงินในอีก 10-15 ปี หากพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (ดีพีเจ) ยังคงใช้นโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง ระบุในปี 2563 ตัวเลขหนี้สินในญี่ปุ่นอาจพุ่งสูงกว่ามูลค่าสินทรัพย์ภาคครัวเรือน แต่เชื่อว่าวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปจะไม่ก่อให้เกิดวิกฤตการเงินโลกครั้งต่อไป และเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะยังสามารถฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปภายใต้การนำของธุรกิจส่งออก
ศาสตราจารย์ชื่อดังจากมหาวิทยาลัยโฮเซกล่าวว่า ปัจจัยทางการเงินของญี่ปุ่นค่อนข้างส่งผลกระทบรุนแรง และประชาชนต่างแสดงความวิตกกังวลต่อประเด็นดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ซึ่งตั้งแต่เกิดกระแสความตื่นตระหนกต่อวิกฤตหนี้สินในกรีซ ประชาชนเริ่มกังวลว่าญี่ปุ่นอาจจะประสบชะตากรรมเดียวกัน ซึ่งการจับตาสถานการณ์หนี้สาธารณะของทั่วโลกเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆในขณะที่ยอดขาดดุลบัญชีของยุโรปที่สืบเนื่องจากวิกฤตการเงินโลกกำลังกำลังลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ
ด้านนายนาโอโตะ คัง รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นและโยชิโตะ เซนโกกุ รัฐมนตรีกระทรวงกำหนดยุทธศาสตร์แห่งชาติกล่าวว่า ญี่ปุ่นจำเป็นต้องเรียนรู้วิกฤตการณ์ในกรีซ ในขณะที่ตัวเลขหนี้สินของญี่ปุ่นพุ่งแตะ 200% ของผลผลิตมวลรวมในประเทศ ขณะที่นายยูคิโอะ ฮาโตยามะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ซึ่งเพิ่งตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งในวันนี้ เตรียมเปิดเผยรายละเอียดในแผนแม่บทที่มีเป้าหมายกระตุ้นสถานะทางการเงินในประเทศ
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญแนะว่า รัฐบาลญี่ปุ่นควรกำหนดเป้าหมายทางการเงินอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งรวมถึงการขีดเส้นทางของเป้าหมายดังกล่าวให้ชัดเจน
ขณะเดียวกัน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้กดดันให้รัฐบาลญี่ปุ่นใช้นโยบายทางการเงินที่น่าเชื่อถือในปีงบการเงินถัดไป ซึ่งรวมถึงการขึ้นภาษีการขาย ซึ่งรัฐมนตรีคลังกล่าวว่า การขึ้นภาษีอาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้หากมีการนำมาใช้อย่างชาญฉลาด ซึ่งการแสดงความเห็นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลอาจพิจารณาขึ้นภาษีการขายในอนาคต