นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2553 มีจำนวน 4,202,410 ล้านบาท หรือร้อยละ 43.19 ของ GDP
ทั้งนี้ เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,864,687 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,095,341 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 180,467 ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 61,915 ล้านบาท
โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 58,150 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาล กู้โดยตรง หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 58,030 ล้านบาท 2,069 ล้านบาท และ 275 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 2,225 ล้านบาท ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีหนี้คงค้าง
สำหรับสาเหตุของการเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น เกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้นสุทธิ 58,030 ล้านบาท รายการที่สำคัญเกิดจากรัฐบาลได้ออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงิน 17,000 ล้านบาท, รัฐบาลได้เบิกเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จำนวน 35,000 ล้านบาท, รัฐบาลได้ดำเนินการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF 1) ที่ครบกำหนดในเดือนเมษายน 2553 จำนวน 9,000 ล้านบาท
ขณะที่ หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้นสุทธิ 2,069 ล้านบาท เป็นหนี้ในประเทศเพิ่มขึ้น 2,000 ล้านบาท โดยเกิดจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ออกพันธบัตรมากกว่าการ ไถ่ถอนพันธบัตร จำนวน 2,000 ล้านบาท, หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น 69 ล้านบาท หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐ หนี้ต่างประเทศในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก (1) ผลจากอัตร แลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 3.68 ล้านเหรียญ (2) รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 0.88 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลงสุทธิ 2,225 ล้านบาท เป็น หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันลดลง 1,982 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ต่างประเทศลดลง 1,141 ล้านบาท หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐ และ หนี้ต่างประเทศในรูปเงินเหรียญสหรัฐลดลงจากเดือนก่อน 21.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก (1) รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิ น (รัฐบาลไม่ค้ำประกัน) มีการเบิกจ่ายเงินกู้จากแหล่งต่างๆ น้อยกว่าการชำระคืนต้นเงิน 29.99 ล้านเหรียญสหรัฐ (2) ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 8.20 ล้านเหรียญสหรัฐ
และ หนี้ในประเทศลดลง 841 ล้านบาท โดยเกิดจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ไถ่ถอนพันธบัตร 357.96 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจอื่นๆ มีการเบิกจ่ายเงินกู้จากแหล่งต่างๆ ต่ำกว่าชำระคืนต้นเงิน 482.98 ล้านบาท
นายจักรกฤศฏิ์ กล่าวว่า หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันลดลง 243 ล้านบาท โดยหนี้ในประเทศลดลง 4,014 ล้านบาท โดยเกิดจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ไถ่ถอนพันธบัตร 2,000 ล้านบาท 1,000 ล้านบาท และ 2,000 ล้านบาท ตามลำดับ แ รัฐวิสาหกิจอื่นๆ มีการเบิกจ่ายเงินกู้จากแหล่งต่างๆ สูงกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 986.02 ล้านบาท
ทางด้านหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น 3,771 ล้านบาท หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐ หนี้ต่างประเทศในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 131.34 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก (1) ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คง งในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 153.37 ล้านเหรียญสหรัฐ (2) รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มีการเบิกจ่ายเงินกู้จากแหล่งต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงิน 22.03 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ หนี้สาธารณะ จำนวน 4,202,410 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 374,247 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.91 และหนี้ในประเทศ 3,828,163 ล้านบาท หรือร อยละ 91.09 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 3,992,125 ล้านบาท หรือร้อยละ 95 และหนี้ระยะสั้น 210,285 ล้านบาท หรือร้อยละ 5 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง