สอท.ห่วงเงินบาทไปถึง 29.50 ปลายต.ค. เร่งรัฐหามาตรการ-ธปท.สกัดทุนนอก

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 10, 2010 16:14 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังระดมความเห็นของสมาชิก ส.อ.ท.เกี่ยวกับทิศทางค่าเงินบาท ผลกระทบและมาตรการรองรับให้กับผู้ส่งออกว่า ในปลายเดือน ต.ค.นี้ มีความเป็นไปได้สูงที่เงินบาทจะแข็งค่าไปที่ 29.50 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกมากกว่าที่เป็นอยู่ ถ้าหากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ไม่มีมาตรการสกัดเงินไหลเข้าอย่างเป็นรูปธรรม

วานนี้ อัตราแลกแปลี่ยนเงินบาทอยู่ที่ 30.63-30.73 บาท/ดอลลาร์แข็งค่าสุดในรอบ 13 ปี เมื่อเทียบกับการจัดทำงบประมาณปี 53 ที่ประเมินค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.15 บาท/ดอลลาร์ หรือแข็งค่าขึ้น 2.52 บาท/ดอลลาร์ คิดเป็นอัตราการแข็งค่า 7.6%

ประธาน สอท. กล่าวว่า ข้อเสนอผู้ส่งออกขอให้ ธปท.เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทให้แข็งค่าในระดับใกล้เคียงกับภูมิภาค , ให้รัฐบาลสนับสนุนการทำป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เช่น ตั้งกองทุนช่วยเหลือค่าธรรมเนียมประกันความแสี่ยงอัตราแลกแปลี่ยน และให้รัฐบาลควบคุมการขึ้นค่าระวางเรือ และขอให้ผู้ส่งออกชำระค่าระวางเรือเป็นเงินสกุลต่างประเทศได้ รวมทั้งสกัดเงินทุนจากต่างประเทศท่เข้ามาทำกำไรระยะสั้น

"สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลทำอย่างเร๋งด่วน คือต้องเข้าใจว่าอัตราแลกเปลี่ยนมีผลกระทบอย่างมากต่อภาคส่งออก และผู้ส่งออกไม่สามารถปรับราคาขายให้ได้ตามสัดส่วนค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นไปได้ ขอให้แบงก์ชาติเทรกแซงอย่าให้ผันผวน ให้เร่งหารือหามาตรการฉุกเฉิกไม่ให้เงินนอกทะลักเข้ามาทำกำไรระยะสั้น" นายพยุงศักดิ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม เท่าที่พูดคุยในทึ่ประชุม ผู้ส่งออกมองว่าหากค่าเงินบาทอยู่ในระดับ 31 บาท/ดอลลาร์เป็นระดับที่พอจะปรับตัวได้

ทั้งนี้ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากและรุนแรงมากที่สุด (สัดส่วน 30% ของมูลค่าส่งออก) ได้แก่ กลุ่มเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ ,เซรามิก และ สินค้าแปรรูปสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตร รองลงมาได้แก่ ชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศ อาหารสำเร็จรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ (สัดส่วนรวม 40%)

ส่วนที่กลุ่มที่ได้รับผลดีผลเสียพอ ๆ กัน ได้แก่ กลุ่มเครื่องจักรกลและโลหะกาล ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบ คือ กลุ่มยานยนต์และเครื่องกลการเกษตร


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ