ดัชนีบ่งชี้ความสามารถพิเศษระดับโลก (Global Talent Index - GTI) ชี้ว่า ประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิคโดยเฉพาะจีนมีความท้าทายต่อสหราชอาราจักร และยุโรปมากขึ้น เมื่อพิจารณาถึงการสร้างและอบรมบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษ
ไฮดริก แอนด์ สตรักเกิลส์ และ อีคอนอมิสท์ อินเทลลิเจนต์ ยูนิตบริษัทที่ให้บริการด้านการค้นหาผู้บริหารได้จัดทำดัชนีดังกล่าวซึ่งชี้ว่า จีนจะเป็นผู้นำบนพื้นฐานของการเป็นประเทศที่มีประชากรที่มากที่สุดในโลก ในการปรับปรุงระบบการศึกษา และตลาดแรงงานในห้าปีข้างหน้าสร้างขึ้นโดยอันดับความเป็นผู้นำของจีนจะเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 8 จากประเทศที่มี GTI แข็งแกร่งที่สุด 30 แห่งในปีพ.ศ. 2550 ขึ้นไปเป็นอันดับที่ 6 ในปีพ.ศ. 2555 โดยเป็นผู้นำในประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก แทนที่ประเทศออสเตรเลียซึ่งจะตกลงจากอันดับ 7 ลงไปอยู่ที่อันดับ 8
โดยดัชนีดังกล่าวระบุว่า ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีผลงานที่แข็งแกร่งโดยรวม ทั้ง มาเลเซีย, เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น รวมถึง จีน อินเดีย และ ออสเตรเลีย ที่จะเป็น15 อันดับแรกในปีพ.ศ. 2555 โดยอินเดียจะรักษาตำแหน่งที่10 ในดรรชนี ตามมาด้วยมาเลเซีย ที่จะยังคงอยู่ในอันดับ 12 เกาหลีใต้ จะขึ้นจากอันดับ 15 เป็น 13 และ ญี่ปุ่นจากอันดับที่ 16 เป็น 14 ขณะที่ไทยจะยังคงรักษาอันดับที่ 22 และอินโดนีเซีย จะยังคงอยู่ในตำแหน่ง 29
ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า เกาหลีใต้ เป็นประเทศที่มีมหาวิทยาลัย และโรงเรียนทางธุรกิจที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิค ขณะที่ญี่ปุ่นได้อันดับสูงสุดในประเทศแถบนี้สำหรับคุณภาพของการศึกษาภาคบังคับ และคุณภาพของสิ่งแวดล้อมในการอบรมคนเก่ง นอกจากการรักษาตำแหน่งโดยรวม อันดับของไทยเกี่ยวกับดรรชนีความสามารถในการเคลื่อนย้าย และการเปิดของตลาดแรงงานจะตกลงจากอันดับที่ 13 เป็น 26
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย อรษา สงค์พูล/สุนิตา โทร.0-2253-5050 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th--