ชวัลวิทย์ ตั้งวงศ์ศิริ และ กันตินันท์ ตั้งวงศ์ศิริ ฝ่ายวางแผนและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร บริษัท ต.สยามฯ ผู้พัฒนาโปรแกรมได้กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า "ทางบริษัทฯ ได้ทราบถึงความต้องการและปัญหาในการจัดการข้อมูลของของเล่น ที่มีอยู่อย่างมากมายในแผนกของทางโรงพยาบาล ที่สามารถนำมาต่อยอดในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ผ่านของเล่น ได้ ถ้าหากนำมาใช้ให้ถูกวิธีทำให้ถูกต้องและเป็นระบบ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีมาแก้ปัญหาจัดการกับกลุ่มข้อมูลดังกล่าวให้เป็นระบบ และมีแบบแผน ให้ใช้งานง่ายทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล และ ผู้ปกครองของผู้ป่วยที่ต้องการนำของเล่นไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านโปรแกรม "ถุงของเล่น" ที่ทางบริษัท ได้ร่วมพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวขึ้นมาให้กับทางโรงพยาบาล เพื่อคืนรอยยิ้มให้กับเด็ก ๆ ได้มีความสุขและสนุกกับของเล่นต่าง ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น
โปรแกรม "ถุงของเล่น" สำหรับผู้ป่วยเด็ก ที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ผ่านการเล่น ซึ่งโปรแกรมนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครอง สามารถเลือกของเล่นที่โรงพยาบาลจุฬาฯ เตรียมไว้ได้อย่างเหมาะสมกับเพศและช่วงวัย ได้ทำกิจกรรมอื่นที่ห่างจากจอมือถือ
"โครงการสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังและศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อเด็กป่วยฯ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รู้สึกขอบคุณทางบริษัท ต.สยามคอมเมอร์เชียล จำกัด เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะโครงการ "ต.สยาม เติมยิ้มให้น้อง" ที่เดินหน้าร่วมตอบแทนสังคมอย่างต่อเนื่อง ทั้งโครงการที่ร่วมกับทางโรงพยาบาลจุฬาฯ หรือกิจกรรมตอบแทนสังคมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนและการศึกษา รวมถึงการร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างพื้นฐานอันดีให้แก่เด็กและเยาวชน เพื่อเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ได้ช่วยเติมรอยยิ้มและความสร้างความสุขให้แก่เด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศต่อไป ในฐานะหัวหน้าโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังและศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อเด็กป่วยฯ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ก็ต้องขอขอบคุณแทนเด็ก ๆ และผู้ปกครองมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ" ศ.พญ.ดารินทร์ ซอโสตถิกุล หัวหน้าโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังและศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อเด็กป่วยฯ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าว