โดย ดร.สมชาติ และผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ได้เปิดเผยผลการสำรวจผู้บริหารซึ่งชี้ให้เห็นว่า 55% มองว่า ในปี 68 เศรษฐกิจไทยโดยรวมจะโตยาก และคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจะโตเพียง 1.65% ในขณะที่ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการตลาดมากที่สุดในปีนี้ ได้แก่ 1. สภาพเศรษฐกิจ 2.เทคโนโลยีดิจิทัล 3. ลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่อง Macro ดังนั้น จึงต้องจับตาเป็นพิเศษ
สำหรับแนวโน้มของพฤติกรรมผู้บริโภคนั้น ผลสำรวจชี้ว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญตามลำดับดังนี้ 1. สุขภาพ 2. ดิจิทัล 3.คุณภาพ ซึ่งสุขภาพในที่นี้ครอบคลุมถึงสุขภาพกายและสุขภาพใจ โดยดร.สมชาติ วิศิษฐชัยชาญ ได้ยกตัวอย่างของแคมเปญการตลาด "ไก่ไทยจะไปอวกาศ" ว่าเป็นแคมเปญที่ไม่ได้พูดถึงคีย์เมสเสจโดยตรง แต่สามารถชี้ให้เห็นว่า กระแสสุขภาพเป็นเรื่องที่มีความสำคัญถึงขนาดที่ไก่ของไทยได้รับการยอมรับในระดับสากล
อีกตัวอย่างของแคมเปญที่ได้รับรางวัลคือ Baby Mild ที่สะท้อนให้เห็นถึงการใส่ใจในเรื่องการดูแล เมื่อสุขภาพดีก็จะทำให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์ ส่งผลต่อสุขภาพจิต ดังนั้น เมื่อมีการพูดถึง Wellness ก็จะเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตด้วยเช่นกัน
สำหรับประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและได้รับความสนใจมากขึ้นนั้น แต่จากผลการสำรวจกลับพบว่า ผู้บริโภคให้ความสนใจกับเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมในลำดับที่ 7
นักการตลาดและผู้บริหารมากกว่า 77.6% มองว่า จะไม่เพิ่มงบการตลาดในปีนี้ และคาดการณ์ว่า งบการตลาดจะลดลง 0.41%
และเมื่อมีงบน้อยลง นักการตลาดจะนำเงินไปใช้ลงทุนกับอะไรบ้าง ผลสำรวจเผยนักการตลาดจะลงทุนกับ Content สูงที่สุด รองลงมาคือ การลงทุนด้าน Commerce และอันดับถัดไป คือ การลงทุนในด้าน Payment โดยผศ.ดร.เอกก์ ได้ชี้ให้เห็นว่าในเรื่อง Governance นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบันแต่นักการตลาดกลับไม่ค่อยลงทุนในด้านดาต้าของลูกค้า ซึ่งจริง ๆ แล้วหากข้อมูลลูกค้ารั่วไหลออกไปจะถือเป็นเรื่องที่ร้ายแรง ดังนั้น จึงควรที่จะพิจารณาเรื่องการลงทุนในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลด้วย
นอกจากนี้ ยังได้มีการยกตัวอย่างของแคมเปญ ttb touch ที่สามารถทำให้เกิด transaction ได้ ในขณะเดียวกันก็ยังทำให้การใช้บริการอื่น ๆ อยู่ในทัชเดียว ไม่ว่าจะเป็นบริการล้างรถ การจ่ายค่าทางด่วน สินเชื่อรถ การประกันรถ เป็นต้น ซึ่งไม่เพียงแค่เป็นการให้บริการที่แตกต่างไปจากผู้ให้รายอื่นเท่านั้นแต่ยังทำให้เกิดคุณค่ากับผู้ใช้บริการด้วย
ทั้งนี้ แคมเปญ"พอดีไม่เหมือนกัน"ของนันยางก็เป็นอีกแคมเปญที่ได้มีการยกตัวอย่าง ซึ่งแคมเปญนี้เป็นการจัดทำเว็บไซต์สำหรับคนรุ่นใหม่ ใช้คอนเทนต์เข้าไปช่วยในเรื่องโรคซึมเศร้า และโยงเข้าไปสู่สินค้าคือรองเท้าที่เป็นตัวบ่งบอกตัวตน ซึ่งท้ายที่สุดแคมเปญนี้นอกจากจะช่วยเหลือสังคมแล้ว ยังสามารถทำให้เกิดยอดขายได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย
อันดับต่อมาเป็นการเปิดเผยถึงเรื่อง 3 P ซึ่งเมื่อปี 2567 People ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 1 ตามมาด้วย Planet และ Profit แต่ในปี 2568 ผลสำรวจขี้ว่า Profit ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 คือ People และ 3. Planet
เมื่อการคาดการณ์ออกมาเป็นเช่นนี้แล้ว What Next อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป ผลสำรวจคาดการณ์ออกมาดังนี้ 1.AI จะได้รับความสำคัญเป็นอันดับแรก อันดับที่ 2 คือ iOT ซึ่งผู้บริหารมองว่า การใช้ประโยชน์จาก Internet of Thing จะไปด้วยกันได้ดีกับการใช้ AI ส่วนอันดับที่ 3 คือ Biotechnology
ส่วนที่มองกันในเรื่องของ S-Curve ของเศรษฐกิจไทยนั้น ผลสำรวจชี้ให้เห็นถึง New S-Curve for Thailand ดังนี้ อันดับที่ 1 คือ Health and wellness 2.Quality tourism และ 3. Agri and Biotech
เมื่อนึกถึง "เทรนด์การตลาด 2025" นักการตลาดไทยจะนึกถึงอะไรบ้าง ถ้าเป็นอุปสรรคการตลาดไทยในปี 2567 นักการตลาดจะนึกถึง 1. Budget หรืองบประมาณ 2. Competition หรือการแข่งขัน และ 3. Economic หรือสภาพเศรษฐกิจ แต่อุปสรรคในปี 2568 กลับกัน โดยมองว่าอุปสรรคต่อการตลาดไทย อันดับ 1 คือ ดิจิทัล 2. ดาต้า และ 3. ความยั่งยืน
ท้ายที่สุด ดร.สมชาติ และผศ.ดร.เอกก์ ได้ให้คาถาเพื่อรับมือกับเทรนด์การตลาดและผู้บริโภคไว้ ดังนี้
1.ใช้เอไอในการสร้างประสบการณ์สำหรับผู้บริโภคเพื่อให้ประสบการณ์ที่มีความหมายแก่ผู้บริโภค
2. Balance หรือสร้างสมดุล ในแบบ "ช้า เร็ว ระวังหลัง" ผศ.ดร.เอกก์มองว่า อย่าลืมลงทุนด้าน Governance เพราะถ้าข้อมูลหลุดจะเกิดความเสียหายตามมาได้ และเวลาลงทุนให้ตัดสินใจจากความเข้าใจอย่างแท้จริงในแก่นแท้ของผู้บริโภค
3. Clear ชัดเจน ไม่สะเปะสะปะ
3. Data ชิงชัยกันด้วยข้อมูล เพื่อที่จะเชื่อมโยงกับผู้บริโภคในด้านอารมณ์
ท้ายสุด ผศ.ดร.เอกก์ได้ให้ความคิดเห็นถึงปี 2568 ว่าเป็นปีงูกระโดด และได้ให้ "คาถา" ปราบพยศงูไว้ว่า หากเราจับงูไม่ดี งูกระโดดกัดเราได้ เพราะงบประมาณเราลดลง ดังนั้นจึงต้องระมัดระวัง