ผลวิจัยล่าสุดชี้ยาอมนิโคตินช่วยลดอาการผิดปกติในร่างกายของผู้ที่พยายามเลิกบุหรี่

ข่าวต่างประเทศ Friday September 19, 2008 12:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

          ผลวิจัยล่าสุดของแกล็กโซสมิทไคล์น คอมซูเมอร์ เฮลธ์แคร์ ที่ได้รับการเปิดเผยในการประชุมแพทย์ประจำปีแสดงให้เห็นว่า ผู้สูบบุหรี่ที่ขาดสารนิโคตินเนื่องจากการพยายามเลิกบุหรี่จะมีประสิทธิภาพในการรับรู้และนึกคิดลดลงซึ่งอาจส่งผลให้การเลิกบุหรี่เป็นไปได้ยากกว่าเดิม และอาจทำให้ต้องกลับไปสูบบุหรี่ตามเดิม นอกจากนั้น เทคโนโลยีสแกนภาพในสมองยังแสดงให้เห็นว่านักสูบที่อมยานิโคติน NiQuitin(R) ขนาด 4 มิลลิกรัม (หรือในชื่อ Nicabate ในออสเตรเลีย) จะมีอาการผิดปกติจากการพยายามเลิกบุหรี่น้อยลงมากซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้แพทย์เข้าใจอาการของผู้ป่วยและสามารถหาวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสม 
ดร.ซี เอเวอเรทท์ คูป อดีตแพทย์ทหารและผู้เขียนรายงานหัวข้อการ “เสพติดนิโคติน ผลพวงจากการสูบบุหรี่" ในปี 2531 กล่าวว่า “ผลวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าความช่วยเหลือของแพทย์เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจอาการของตัวเองและเลิกบุหรี่ได้ในที่สุด ซึ่งแพทย์ควรนำข้อมูลดังกล่าวไปพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจอาการเสพติดนิโคตินมากขึ้น นอกจากนั้นยังควรพูดถึงผลกระทบที่มองจะได้รับจากการเลิกบุหรี่และวิธีรักษาอาการดังกล่าว"
ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า การขาดนิโคตินจะส่งผลกระทบต่อสมองบางส่วน โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบการทำงานต่างๆ ซึ่งยาอมนิโคติน NiQuitin(R) ขนาด 4 มิลลิกรัม สามารถช่วยพัฒนาการทำงานของระบบการรับรู้ในสมองได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ยา placebo (ยาที่มีผลทางจิตใจแต่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษา) นอกจากนั้นยังช่วยลดอาการผิดปกติที่เกิดจากการเลิกสูบบุหรี่ลงได้มาก ไม่ว่าจะเป็นอาการอยากยา หงุดหงิดและกระสับกระส่าย รวมถึงอาการความจำสั้นและสมาธิสั้น
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ยานิโคตินได้รับการพัฒนามาเป็นพิเศษเพื่อลดอาการผิดปกติที่เกิดจากการหยุดรับสารนิโคตินจากการสูบบุหรี่ ด้วยการช่วยให้ผู้ป่วยค่อยๆ ลดการเสพสารนิโคตินอย่างช้าๆ จนเลิกได้ในที่สุด ยาอมนิโคติน NiQuitin(R) ขนาด 4 มิลลิกรัม มีประสิทธิภาพช่วยลดอาการอยากยา หงุดหงิดและกระสับกระส่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ