ธนาคารกรุงไทย(KTB) เปิดเผยว่า ธนาคารมีสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ 31 ธันวาคม 2553 จำนวน 76,257 ล้านบาท ซึ่ง ลดลง จำนวน 8,663 ล้านบาท (ร้อยละ 10.20) จาก ณ 31 ธันวาคม 2552
ทั้งนี้ สัดส่วน NPLs (gross) ลดลงจากร้อยละ 6.52 ณ 31 ธันวาคม 2552 เป็นร้อยละ 5.30 ณ 31 ธันวาคม 2553 และสัดส่วน NPLs (net) ลดลงจากร้อยละ 4.11 ณ 31 ธันวาคม 2552 เป็นร้อยละ 3.09 ณ 31 ธันวาคม 2553
สำหรับภาพรวมผลประกอบการใน 53 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 15,207 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,018 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.76 จากปี 52 โดยมีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิเท่ากับ 46,848 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,312 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 10.14 จากปี 52 ด้านอัตราผลตอบแทน (NIM)อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ในปี 53 เท่ากับร้อยละ 2.93 ลดลงจากปี 52 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 3.10
ธนาคารมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเท่ากับ 15,946 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,161 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.68 จากปี 52 โดยธนาคารมีรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการเท่ากับ 11,683 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,315 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.68 จากปี 52
ส่วนค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยเท่ากับ 35,927 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,464 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.67 จากปี 52 ส่วนใหญ่มาจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (Cost-to-Income Ratio) อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ ในปี 53 เท่ากับร้อยละ 58.63 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 58.03 ในปี 52
ธนาคารได้กันสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 6,124 ล้านบาท ลดลง 119 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.91 จากปี 52 โดยในปี 53 ธนาคารได้กันสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามปกติจำนวน 500 ล้านบาท ต่อเดือน
ด้านสถานะทางการเงิน ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อรวม ณ 31 ธ.ค.53 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อรวม (ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับและเงินให้สินเชื่อระหว่างธนาคารและตลาดเงิน)เท่ากับ 1,247,841 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 175,961 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.42 จาก ณ 31 ธ.ค.52 และมีเงินฝาก ณ 31 ธ.ค.53 เท่ากับ 1,248,027 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40,414 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.35 จาก ณ 31 ธ.ค.52
ณ สิ้น ธ.ค.53 ธนาคารมีเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับ 115,311 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 9.98 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 4.25 ที่กำหนดโดยธปท. ส่วนเงินกองทุนรวมเท่ากับ 181,028 ล้านบาทหรือประมาณร้อยละ 15.66 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง ตามหลักเกณฑ์ใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งนำแนวทาง Basel II มาบังคับใช้ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 8.50 ที่กำหนดโดยธปท. เช่นกัน ธนาคารเชื่อว่าเงินกองทุนในระดับนี้ ทำให้ธนาคารมีความแข็งแกร่ง และสามารถขยายธุรกิจได้ตามแผน