บมจ. แอล เอช ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (LHBANK)แต่งตั้ง บล.เอเซีย พลัส (ASP) เปิดเผยว่า บริษัทได้รับการแต่งตั้ง บล.เอเชีย พลัส และบล.ซีไอเอ็มบีไทย เป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทในราคาเสนอขาย 1.40 บาท/หุ้น ระหว่างวันที่ 27-29 เม.ย.นี้ และจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 10 พ.ค.นี้
ส่วนผู้ร่วมจัดจำหน่าย ได้แก่ บล.กิมเอ็ง(ประเทศไทย) บล.ทรีนิตี้ บล.บัวหลวง บล.โนมูระพัฒนสิน บล.ฟินันเซียไซรัส และบล.ยูไนเต็ด
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซียพลัส กล่าวว่า มั่นใจว่าหุ้น LHBANK จะได้รับความสนใจจากนักลงทุน เนื่องจากมีผู้แสดงความต้องการจองซื้อเข้ามามาก ไม่ว่าจะเป็นรายย่อยหรือสถาบัน จากจำนวนหุ้นที่เสนอขาย 1,443 ล้านหุ้น ซึ่งจะจัดสรรให้กับนักลงทุนทั่วไป 633 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 44% นักลงทุนสถาบัน 360 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 25% ผู้มีอุปการะคุณ 450 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 31%
และจากการที่มีนักลงทุนสนใจจองซื้อหุ้นจำนวนมาก ทำให้ไม่จำเป็นต้องสำรวจความต้องการซื้อของนักลงทุนสถาบันจากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 22 เม.ย. และสามารถกำหนดราคาเสนอขายได้เลยที่ 1.40 บาท คิดเป็น P/BV ที่ 1.3 เท่า ของผลประกอบการรอบ 12 เดือนสิ้นสุด 31 ธ.ค.53 ปรับด้วยเงินเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน หรือคิดเป็นส่วนลดประมาณ 31% เมื่อเทียบกับ P/BV 1 เดือนย้อนหลังเฉลี่ยของกลุ่มแบงก์ที่ 1.9 เท่า
"ที่ผ่านมาที่เราดูแล้วคงจะไม่จำเป็นที่จะต้องบุ๊คบิ๊วแล้ว เพราะตอนนี้คนสนใจหุ้นตัวนี้มาก ที่ผมคุย ๆ ในส่วนของสถาบันก็อยากที่จะซื้อหุ้นเราถึง 200 ล้านหุ้น แต่ก็คงให้ไม่ได้ ก็ให้ไปซื้อในกระดานเอา และมั่นใจในสถาะของบริษัทนี้เพราะด้วยความที่มี LH และ QH เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ทำให้เห็นว่ามีความมั่นคง และยังมี upside เล่นได้ ที่มีแผนเป็นแบงก์เต็มรูปแบบ"นายก้องเกียรติ กล่าว
นางศศิธร พงศธร กรรมการผู้จัดการ LHBANK คาดว่ากระบวนการยกระดับเป็นธนาคาพาณิชย์เต็มรูปแบบจะใช้เวลาประมาณ 5 เดือน ซึ่งจะทำให้ธนาคารสามารถทำธุรกรรมทางการเงินหลากหลายมากขึ้นและสร้างความแข็งแกร่งทั้งด้านรายได้และกำไรโดยจะรักษาอัตราการเติบโตใน 3 ปีข้างหน้าจะมีอัตราการเติบโตของสินเชื่อและเงินตราไม้น้อยกว่า 20% และกำไรสุทธิไม่น้อยกว่า 15% ขณะที่ปีนี้ด้านของสินเชื่อจะมีอัตราการเติบโต 20% และจะคงนโยบาย NPL ไม่เกิน 2% จาก 1.5% ปัจจุบัน
"แม้ว่าในอนาคตเราจะเป็นธนาคารเต็มรูปแบบแต่ก็ยังคงเน้นเป็นธนาคารขนาดเล็กเพื่อรายย่อย และคงทำให้พอรฺ์ตเราใหญ่ขึ้นแต่ก็จะดัในแง่ของการที่เราสามารถจำกัดความเสี่ยงของธนาคารไดั้ดีขึ้นโดยไม่กระจุกอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยปัจจุบัน 60% เป็นเฮ้าส์ซิ่งโลน 40% สินเชื่อผู้ประกอบการ"นางศศิธร กล่าว