สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ร่วมกับสมาคมผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน ให้ผุ้ลงทุนทำแบบสอบถามประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยง เพื่อให้ผู้ลงทุนรู้จักตัวเอง ขณะที่ผู้ขายสามารถให้คำแนะนำขายสินค้าที่เหมาะได้ เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค. 54
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า การประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงด้วยการทำ suitability test เป็นขั้นตอนเริ่มต้นในการซื้อขายหลักทรัพย์ เนื่องจากการลงทุนปัจจุบีนมีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าในอดีต และแนวโน้มสินค้าใหม่ก็มีความเสี่ยงมากขึ้นด้วย ดังนัน้น ก.ล.ต. และ สมาคมผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน ได้ร่วมกันออกแบบคำถามมาตรฐานให้ผู้ประกอบธุรกิจ ใช้เป็นแนวทาง และใช้แบบฟอร์มเดียวกัน เพื่อวัดระดับความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนรับได้
ทั้งนี้ การประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยง ก.ล.ต. จะให้ผู้ประกอบการทำการประเมิน ทุกๆ 2 ปีในช่วงแรก เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการทำประเมินดังกล่าว ซึ่งในต่างประเทศได้จัดทำมานานแล้ว
"เราทำไม่ได้นำมาใช้บังคับ หรือใช้ลงโทษ แต่การประเมินฯ จะเป็นเครื่องมือที่ให้รู้จักตัวเองว่าจะวาง portfolio อย่างไร ให้กั้บสภาพแวล้อมตัวเอง อายุ ความเข้าใจ ขณะที่ผู้ประกอบการจะให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น" นายธีระชัย กล่าว
สมาคมผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน ประกอบด้วย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) สมาคมธนาคารไทย และสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า จะมีการหารือกันภายในสภาธุรกิจฯที่มีแนวคิดเป็นตัวรวมศูนย์ในการเก็บข้อมูลจากการประเมินในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุนทุกคนที่ได้ทำแบบสอบถาม หรือ Risk profile เป็นส่วนกลาง เหมือนอย่างเครดิตบูโร
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า ผู้ขายควรให้ความสำคัญกับการรู้จักลูกค้าของตน โดยเฉพาะเรื่องความสามารถในการรับความเสี่ยงในการลงทุน เปรียบเสมือนเป็นการตรวจเช็คสุขภาพของลูกค้า เพื่อที่จะได้ให้คำแนะนำและเสนอขายหลักทรัพย์ได้เหมาะสม เพราะการลงทุนในหลักทรัพย์มีความเสี่ยงสูง หากลูกค้าลงทุนไปโดยไม่รู้ว่าหลักทรัพย์นั้นเหมาะสมกับตนหรือไม่ เมื่อประสบผลขาดทุนมักจะรับไม่ได้ ผิดหวัง และเข็ดกับการลงทุน
การทำแบบสอบถามนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนแต่อย่างใด บริษัทหลักทรัพย์แต่ละแห่งพยายามปรับรูปแบบคำถามให้เข้าใจง่ายและตรงกับลักษณะการลงทุนของลูกค้า และหากว่าผลการประเมินที่ได้ไม่สอดคล้องกับประเภทตราสารที่ต้องการลงทุน ผู้ลงทุนก็ยังสามารถลงทุนได้ โดยต้องทำความเข้าใจและรับทราบความเสี่ยงของตราสารนั้นจากผู้ขายก่อนลงทุน
ขณะที่ นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า กองทุนรวมที่ออกมาในระยะหลังมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ และแม้ว่าการลงทุนในกองทุนรวมเป็นการมอบเงินให้มืออาชีพบริหารให้ แต่ผู้ลงทุนเองก็ต้องรู้ถึงความสามารถในการรับความเสี่ยงของตน เพื่อเลือกลงทุนในกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงเหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงทุน
หากผู้ลงทุนยืนยันที่จะลงทุนในกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงในระดับที่สูงกว่าการประเมินผลจากแบบสอบถามก็สามารถทำได้ โดยจะต้องลงนามเพื่อรับรองว่าได้รับคำแนะนำ และรับทราบความเสี่ยงดังกล่าว ขณะนี้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนหลายแห่งเริ่มให้ลูกค้าทำแบบสอบถามบ้างแล้ว โดยแต่ละบริษัทพยายามที่จะให้ขั้นตอนการทำแบบสอบถามสะดวก ผู้ลงทุนสามารถประมวลผลได้เอง รวมทั้งยังมีแนวคิดต่อไปที่จะรวมศูนย์ข้อมูลเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับความสะดวกมากขึ้นหากต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เคยให้ไว้