ก.ล.ต.ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพิ่มทางเลือกลงทุนให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday August 18, 2011 15:08 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นางสาวเนาวรัตน์ จันทวานิช ผู้ช้วยผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายใบอนุญาตหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ก.ล.ต.กำลังปรับปรุงหลักเกณฑ์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้มีความเหมาะสมและสมาชิกกองทุนไม่ได้รับความเสี่ยงจากการลงทุนมากเกินไปจะกระทบต่อเงินออมที่จะใช้ในยามเกษียณ ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 55

ดังนั้น จึงได้ปรับปรุงเหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับสมาชิกโดยตรง 2 เรื่อง ได้แก่ เพิ่มทางเลือกในการลงทุนโดยกองทุนสามารถลงทุนในกลุ่มทรัพย์สินทางเลือก เช่น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หน่วยลงทุนหรือตราสารที่อ้างอิงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นต้น โดยลงทุนได้ไม่เกิน 15% ของ NAVกองทุน เพื่อกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสม

และให้บริษัทจัดการมีการเประเมินความเสี่ยง (Suitability test) แก่สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มี emplyee's choice เพื่อให้สมาชิกกองทุนจะต้องรู้ว่ากำลังตัดสินใจการลงทุนในโยบายที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝาก และตราสารหนี้ น้อยกว่า 50%ของมูลค่าเงินกองทุนรายสมาชิก

ด้านนายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส ก.ล.ต. เปิดเผยว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในภาพรวมมีการเติบโตต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นไตรมาส 2/54 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV)อยู่ที่ 595,228 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8% จากสิ้นปี 53 โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังคงลงทุนในตราสารหนี้มากที่สุด คิดเป็น 73.6% ของ NAV ส่วนลงทุนในตราสารทุน 13.1% และเงินฝาก 10.3%

มีนายจ้างที่จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ลูกจ้างทั้งสิ้น 10,806 ราย เพิ่มขึ้น 8.3% จากสิ้นปี 53 มีสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งสิ้น 2.2 ล้านคน เพิ่มขึ้น 3.7% จากสิ้นปี 53 และหลังจากมีการแก้ไขพ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 เมื่อปี 51 มีสมาชิกที่เกษียณอายุหรือออกจากงานด้วยเหตุอื่น ขอคงเงินในระบบทั้งสิ้น 2,189 ราย เพิ่มขึ้น 11.3% จากสิ้นปี 53 คิดเป็นยอดเงินรวม 3,013 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.9% จากสิ้นปี 53 เป็นสัญญาณที่ดีที่สมาชิกกองทุนให้ความสำคัญกับการออมเงินไนระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อก็บไว้ใช้ในยามเกษีญณมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม จากนโยบายรัฐบาลที่จะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน อาจส่งผลกระทบเล็กน้อยต่อการที่นายจ้างระงับการส่งเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

"กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนภาคสมัครใจจากการเติบโตต่อไป และคงพัฒนาแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น" นายประเวช กล่าว

ทั้งนี้ ก.ล.ต.ได้หารอืกับ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ สำน้กงานประกันเงินฝาก หาแนวทางการค้มครองเงินฝากของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อย่างไรก็ตาม เห็นว่า ผู้จัดการกองทุนแต่ละแห่งพิจาณราการลงทุนหรือฝากเงินในสถาบันการเงินที่มีความมั่นคง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ