ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) เปิดเผยว่า ธนาคารเตรียมวงเงินสินเชื่อฉุกเฉิน 1 หมื่นล้านบาท เพื่อช่วยเหลือลูกค้าและที่ไม่ใช่ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม ล่าสุด พบลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ของธนาคารได้รับผลกระทบจำนวน 300 ราย เตรียมวงเงินฉุกเฉิน 10,000 ล้านบาท และลูกค้าเอสเอ็มอี ประมาณ 2,000 ราย มูลค่าหนี้ 17,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ขอรับความช่วยเหลือ 183 ราย ยอดหนี้รวม 7,540 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าในต่างจังหวัด จ.ปทุมธานี อยุธยา และลพบุรี ใน 3 อุตสาหกรรม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เกษตร พลาสติกและเคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนรถยนต์ โดยธนาคารพร้อมช่วยเหลือพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยไม่เกิน 6 เดือน ยืดระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 12 เดือน ลดดอกเบี้ยสูงสุด 1% นาน 6 เดือน เพิ่มวงเงินหมุนเวียนไม่เกิน 20% ของวงเงินปัจจุบัน
ด้านลูกค้าบุคคลทั้งสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ช่วยเหลือด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย และเพิ่มวงเงินสินเชื่อให้ไม่เกิน 120%
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCB กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมกระทบลูกหนี้ รวมเป็นวงเงินสินเชื่อ 37,000 ล้านบาท แยกเป็นลูกค้าธูรกิจรายใหญ่ ในเขตนิคมอุตสาหกรรม จ.พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และสมุทรปราการ จำนวน 300 ราย และลูกจ้าง 2 แสนราย คิดเป็นมูลหนี้รวม 15,000-20,000 ราย
ล่าสุด ธนาคารให้วงเงินช่วยเหลือระยะสั้นแก่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ เบื้องต้น 500 ล้านบาท
ขณะที่ธนาคารพร้อมให้วงเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม หากวงเงินหมด ขณะที่ธนาคารพร้อมให้วงเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม
ส่วนความเสียหายของ SCB นางกรรณิกา กล่าวว่า ธนาคารมีการปิดสาขา 17 สาขา จากสาขาทั่วประเทศ 1,062 สาขา ตู้เอทีเอ็มได้รับความเสียหาย 186 ตู้ จาก 8,363 ตู้ทั่วประเทศ
นางกรรณิกา กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์จะมีการประชุม VDO Conference กับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อติดตามปัญหาและช่วยเหลือลูกหนี้ได้ทันที และในส่วนไทยพาณิชย์เองมีการตั้งวอร์รูมและประชุมทุกวัน เพื่อเตรียมความพร้อมช่วยเหลือลูกค้าเร็วที่สุด
"ถ้าลูกค้าที่ได้รับผลกระทบและได้รับการช่วยเหลือเร็วจะไม่ก่อให้เกิด NPL...ธปท.ให้นโยบายกับธนาคารพาณิชย์ว่าความเสียหายจากภัยพิบัติครั้งนี้ ไม่ถือเป็น NPL" นางกรรณิกา กล่าว
สำหรับแผนการดำเนินงานของธนาคารในไตรมาส 4/54 ธนาคารไม่ได้สนใจแล้ว เพราะมุ่งช่วยเหลือลูกค้าเป็นสำคัญ ส่วนแผนในปี 55 ยังไม่รวมผลกระทบเรื่องน้ำท่วม แต่ได้หยุดทำแผนไปก่อนเพื่อรอประเมินผลกระทบ ซึ่งเชื่อว่ามีผลกะรทบต่อลูกค้าและแผนของธนาคาร และต่อ GDP ในไตรมาส 4 ด้วย
นายอาทิตย์ นันทวิยา รองผู้จัดการใหญ่ SCB กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 19 ต.ค.นี้ คงไม่เห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากทำได้ยากขึ้น เพราะมีปัจจัยกดดัน คือ ปัจจัยจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาน้ำท่วมในประเทศ ทำให้โอกาสในการปรับขึ้นดอกเบี้ยมีน้อยลง แต่ธปท.ยังจับตาดูระดับราคา ซึ่งถ้าคงที่ธปท.คงจะคงดอกเบี้ย หรือ ขึ้นดอกเบี้ยต่อ แต่ตอนนี้เรื่องระดับราคาที่เร่งขึ้นจากปัญหาน้ำท่วม ไม่ใช่ปัจจัยโดยตรงที่จะมีผลต่อดอกเบี้ย แต่มองว่าการประชุมกนง.ครั้งสุดท้ายจะต้องดูอีกทีว่าปัจจัยตัวไหนกดดัน