ประเทสไทย มีพื้นที่เหมาะสมในการเลี้ยงสาหร่ายได้ทั้งปี ขณะที่ปตท. มีพื้นที่ในภาคตะวันตกของออสเตเรีย ที่ได้สัมปทานอยู่แล้วเหมาะแก่การเลื้ยงสาหร่าย สำหรับการผลิตเชิงพาณิย์ในปี 60
ทั้งนี้ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ร่วมกับสถาบันปิโตรเลียมไทย จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงวิชาการสาหร่ายนานาชาติ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2555 หรือ 2nd Asia-Oceania Algae Innovation Summit (AOAIS 2012) ในระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2555
นายไพรินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การสรรหาแหล่งพลังงาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการร่วมกันดำเนินการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก เป็นงานที่ท้าทายมากยิ่งขึ้นทุกวัน ในสถานการณ์ที่โลกและประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตพลังงานและโลกร้อน ในการนี้ ปตท. ได้เล็งเห็นว่า แนวทางสำคัญอันหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน และเอื้อประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย คือ การสร้างนวัตกรรมพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับศักยภาพของประเทศ
ปตท. จึงได้ให้ความสำคัญพร้อมทั้งเร่งรัดและทุ่มงบประมาณในการคิดค้นวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนออกมาให้บรรลุประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและสังคมไทยอย่างรวดเร็ว โดยการเป็นผู้นำในการผลักดันการออกผลิตภัณฑ์แก๊สโซฮอล์ (Gasohol) และไบโอดีเซล (Biodiesel) และได้พัฒนาสูตรให้เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศ เป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตรถยนต์และผู้บริโภค ส่งเสริมและผลักดันการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือ NGV รวมทั้งพัฒนาพลังงานทดแทนใหม่ๆ ที่สามารถต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงการผลิต หรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และการผลิตก๊าซชีวภาพอัด (Compressed Biogas) เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ทดแทน NGV ตลอดจนเร่งดำเนินการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานทุกๆด้าน เพื่อให้สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้อย่างสมดุล ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม