บมจ.ปตท.(PTT) รายงานแนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจและปิโตรเลียมในปี 55 คาดว่า ราคาน้ามันดิบดูไบเฉลี่ยจะทรงตัวอยู่ในช่วง 100-110 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล อย่างไรก็ตาม แรงกดดันจากเศรษฐกิจยุโรปที่อาจเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) รุนแรงจนส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอลงมาก รวมทั้งการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นจากทั้งกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC อาจทำให้ราคาปรับลดลงอย่างมากได้
ในทางกลับกันราคาน้ามันในปี 55 อาจปรับตัวสูงขึ้นจากปัจจัยการผลิตที่หยุดชะงักลง (Supply Disruption) เนื่องจากการตอบโต้ของอิหร่านต่อมาตรการคว่าบาตรของประเทศตะวันตก การถอนทหารสหรัฐฯออกจากอิรัก ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ เป็นต้น
ด้านค่าการกลั่นอ้างอิงสิงคโปร์ในปี 55 คาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ในระดับประมาณ 6-7 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ลดลงจากปี 54 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอลงทาให้ความต้องการน้ามันสาเร็จรูปปรับลดลง
ราคาผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ในปี 55 มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลง เนื่องจากยังมีกาลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก และวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปส่งผลให้ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีชะลอตัวลง โดยราคาโพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูงคาดว่าจะอยู่ที่ 1,335 เหรียญสหรัฐ/ตันและราคาโพลีโพรพิลีนคาดว่าจะอยู่ที่ 1,403 เหรียญสหรัฐ/ตัน
เช่นเดียวกันกับราคาผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ที่มีแนวโน้มต่าลง โดยราคาเบนซีนคาดว่าจะลดลงเป็น 1,096 เหรียญสหรัฐ/ตัน และราคาพาราไซลีนคาดว่าจะลดลงเป็น 1,504 เหรียญสหรัฐ/ตัน ขณะที่กลุ่มเคมีภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะและมีมูลค่าเพิ่มมีแนวโน้มการเติบโตสูง ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมก่อสร้างในเอเชีย ตลอดจนแนวโน้มการอนุรักษ์พลังงานในอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย รวมไปถึงธุรกิจพลาสติกชีวภาพ ซึ่งไทยมีความได้เปรียบเรื่องวัตถุดิบ
ปตท.คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวต่ากว่าปี 54 ทั้งนี้ IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้ขยายตัวประมาณร้อยละ 3.3 จากร้อยละ 3.8 ในปี 54 โดยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะจีน มีแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะขยายตัวชะลอลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และเป็นผลจากการที่รัฐบาลใช้มาตรการต่างๆ เพื่อลดความร้อนแรงในตลาดอสังหาริมทรัพย์และป้องกันหนี้เสียของภาคธนาคาร
สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว เศรษฐกิจยังคงมีความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวค่อนข้างสูง ประกอบกับปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปมีแนวโน้มยืดเยื้อและลุกลามไปประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อื่นๆ อย่างไรก็ตาม ดัชนีทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่เริ่มส่งสัญญาณให้เห็นการฟื้นตัวในช่วงต้นปี และการที่อัตราเงินเฟ้อในจีนชะลอตัวลง ทาให้รัฐบาลจีนหันมาให้ความสาคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น อาจทาให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวมากกว่าที่คาดการณ์ได้
ส่วนเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะกลับมาขยายตัวได้สูงกว่าปี 54 เนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ เพื่อฟื้นฟูความเสียหายจากเหตุอุทกภัย รวมทั้งการดาเนินนโยบายของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่า การปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการ และมาตรการคืนภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก เป็นต้น
อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามอง คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจจีนที่จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก รวมทั้งปัญหาอุทกภัยซ้าซ้อนที่ต้องการความชัดเจนเกี่ยวกับแผนการบริหารจัดการน้าเพื่อแก้ไขปัญหาระยะยาว รวมถึงความเสี่ยงของการเมืองภายในประเทศที่จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนจากต่างชาติ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ เดือน ก.พ.55 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 55 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.9