"ทางบริษัท L&E ในฐานะผู้ผลิตดวงโคมตามแบบ เป็นผู้ยื่นขอขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดยให้ผมและ รศ.พรรณชลัท สุริโยธิน เป็นเจ้าของสิทธิบัตรร่วมกัน ตั้งแต่ปี 50 ที่ผ่านมา จนล่าสุดได้รับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 54 ที่ผ่านมา รวมระยะเวลาที่รอตามกระบวนการของกรมทรัพย์สินทางปัญญานานกว่า 5 ปี แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ากับการรอคอยเพราะในที่สุดก็ได้รับสิทธิบัตร เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ดวงโคมที่ร่วมกันออกแบบมาอย่างยากเย็น" ศ.บัณฑิต กล่าว
ศ.บัณฑิต กล่าวต่อว่าหลังจากที่ได้รับสิทธิบัตรมาเรียบร้อยแล้ว ทางคณะสถาปัตย์ฯ ได้มอบสิทธิการผลิตดวงโคมดังกล่าวในเชิงพาณิชย์ให้กับ L&E เนื่องจากเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านการผลิตชิ้นงานตามแบบมาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การออกแบบดวงโคมเป็นไปอย่างราบรื่น
ประการสำคัญจะทำให้ผลงานทางวิชาการ สามารถช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง ซึ่งถือหนึ่งในอุดมการณ์หลักของจุฬาฯ ที่มุ่งมั่นจะเป็นเสาหลักค้ำจุนช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติอย่างเต็มกำลัง ด้วยการสนับสนุนให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถในมหาวิทยาลัยสร้างผลงานทางวิชาการและส่งต่อให้ภาคเอกชนสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นบทบาทใหม่ที่ช่วยให้ภาคเอกชนสามารถเข้ารับมือกับการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะมาถึงในปี 58 ได้อย่างเข้มแข็ง