บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC)เผยตั้งงบลงทุน 3G บนคลื่นใหม่ วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท ใช้ภายใน 3 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้ใบอนุญาต การให้บริการ 3G เบื้องต้นจะขอร่วมประมูลรวม 15 เมกะเฮิร์ต แต่หากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดให้เพิ่มมากกว่านี้ก็จะเข้าร่วมประมูลเท่าที่ กสทช.เปิดให้สูงสุด ส่วน 4 G บนคลื่น 1800 MHz ยังไม่ตั้งงบลงทุน รอให้เกณฑ์จากกสทช.ชัดเจนกว่านี้
ผู้บริหารมั่นใจตลาดสื่อสารจะกลับมาคึกคัก และแข่งขันรุนแรง อย่างน้อยต้องรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ให้ได้ ขณะที่สัดส่วนสมาร์ทโฟนปีนี้คาดเพิ่มเป็น 50% ของโทรศัพท์มือถือที่ซื้อใหม่ จากปัจจุบันอยู่ระดับ 40% ส่วนการขยายสถานีฐาน 3G บนคลื่นเดิมบริษัทลงทุนต่อเนื่อง คาดว่าปีนี้จะเพิ่มเป็น 3,500 สถานีฐานเพิ่มจากปีก่อนที่มีจำนวน 1,884 สถานีฐาน
นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ADVANC กล่าวว่า บริษัทต้องการขอยื่นประมูลใบอนุญาตการให้บริการระบบ 3G บนคลื่น 2.1 GHz ที่ทาง กสทช.ระบุจะเปิดการ่ประมูลในไตรมาส 3/55 ด้วยการเปลี่ยนวิธีการประมูลเป็นแบ่งคลื่นที่เปิดประมูลสล็อตละ 5 MHz จากเดิม กทช.ชุดเดิมกำหนดที่ 15 MHz ฉะนั้น บริษัทจะขอประมูล 3 สล็อต รวม 15 MHz เพียงพอกับการรองรับการให้บริการลูกค้าปัจจุบันที่มีอยู่ 33 ล้านราย
แต่หาก กสทช.เปิดให้ให้มากกว่านี้ หรือกำหนดเพดานสสูงสุด ทาง ADVANC จะเข้าประมูลเท่าที่ กสทช.เปิดเพดานมากที่สุด โดยคาดว่าจะมีการพิจารณางบประมาณเพิ่มเติมภายหลังได้ ขณะที่การขยายสถานีฐาน 3G บนคลื่น 900 ก็ยังลงทุนต่อเนื่อง โดยคาดว่าสิ้นปี 55 จะเพิ่มเป็น 3,500 สถานีฐาน จากปีก่อน 1,884 สถานีฐาน
“เงินลงทุนจำนวน 4.5 หมื่นล้านบาทเป็นงบที่คณะกรรมการอนุมัติ ไว้แล้วที่จะใช้ลงทุน 3G บนคลื่นใหม่ 15 MHz แต่ถ้ามากขึ้น อาจจะเป็น 20 MHz ก็ต้องขอเพิ่มภายหลังเป็นการเพิ่ม capacity ไป เรื่องงบไม่ได้มีปัญหา"นายวิเชียร กล่าว
ทั้งนี้ บริษัทได้วางงบลงทุน 3G บนคลื่นใหม่ จำนวน 4.5 หมื่นล้านบาท ใช้ลงทุนในช่วง 3 ปีนับจากวันที่ได้ใบอนุญาตใหม่ ส่วนการตั้งงบลงทุนระบบ 4G ยังไม่ได้กำหนด เพราะปัจจุบัน กสทช. ยังไม่มีความชัดเจนที่จะมีการประกาศประมูล(IM)
นอกจากนี้ ADVANC ต้องการเข้าประมูล 4G บนคลื่น 1800 MHz ถึง 20 MHz เพราะเป็นระบบที่เน้นการใช้ดาต้า จึงต้องใช้พื้นที่คลื่นความถี่มากกว่าระบบ 3G ทั้งนี้จะมีการจัดสรรคลื่นความถี่หลังจากได้รับคืนคลื่นจากทรูมูฟและดิจิตอลโฟน(ดีพีซี) รายละ 12.5 MHz รวม 25 MHz ในปี 56
นายวิเชียร คาดว่า การรประมูลคลื่น 3G จะช่วยให้ธุรกิจสื่อสารกลับมาคึกคักอีกครั้ง และคาดว่าจะมีการแข่งขันที่รุนแรง อย่างน้อยแต่ละบริษัทจะต้องรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ให้ได้ ประกอบกับกระแสการเติบโตของสมาร์ทโฟนที่คาดว่าปีนี้จะโดดเด่นต่อเนื่องจากปีก่อน คาดว่าจะมีสัดส่วนสมาร์ทโฟนถึง 50%ของโทรศัพท์มือถือใหม่ จากปัจจุบันมีสัดส่วน 40%
ด้านนายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานตลาด ADVANC กล่าววว่า เอไอเอสได้เปิดบริการดาต้าโรมมิ่งต่างประเทศเฟสแรก “AIS Worry Free Data Roaming" ที่ช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายโดย เอไอเอสจะคอยแจ้งเตือนเมื่อแพ็กเกจตามปริมาณการใช้งานที่ลูกค้าสมัครไว้ใกล้จะหมด คือเหลือ 1 MB หรือ Block การใช้งานดาต้าโรมมิ่งทันทีเมื่อมีการจับเครือข่ายที่ไม่ตรงกับเงื่อนไขในแพ็กเกจที่สมัครไว้ รวมทั้งลูกค้ายังสามารถเช็คปริมาณการใช้งานดาต้า โรมมิ่งคงเหลือในแพ็กเกจที่สมัครไว้ได้ฟรีแบบ Real Time
ทั้งนี้ สามารถใช้กับสมาร์ทโฟนทุกระบบปฏิบัติการ ส่วนเฟสถัดไปคาดว่าจะเปิดให้กับกลุ่มลูกค้าพรีเพด เนื่องจากลูกค้ามีพฤติกรรมการใช้งานด้าต้าโรมมิ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการเติบโตของสมาร์ทโฟน ที่มีคุณสมบัติโดนเด่นในเรื่องการเปิดใช้งาน Application ได้แก่ Social Network และอีเมล์ที่ต้องการ update ตลอดเวลา
“บริการนี้จะทำให้เราไม่เกิด Bill Shock เพราะลูกค้าที่ใช้งานด้าต้าโรมมิ่งต่างประเทศ อุ่นใจ ไร้กังวลได้อย่างแท้จริง เพราะจะช่วยให้สามารถควบคุมค่าใชจ่ายได้ตามการใช้งานจริงอย่างโปร่งใส"นายสมชัย กล่าว