นายจุมพล สายมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า บลจ.ไอเอ็นจี เตรียมเสนอขายกองทุนใหม่ “กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย ทริกเกอร์ 10% (7) " ซึ่งเป็นกองทุนใหม่ล่าสุดในกลุ่ม “อีควิตี้ ทริกเกอร์" ที่ลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มั่นใจแนวโน้มตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อ สร้างผลตอบแทนเข้าเป้า เสนอขายระหว่าง 29 ต.ค.ถึง 5 พ.ย.นี้
โดยกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย ทริกเกอร์ 10% (7) เลือกลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานและผลประกอบการดี และมีแนวโน้มการเติบโตสูง และเน้นการใช้เทคนิคเรื่องการเข้า-ออกตลาดในจังหวะที่เหมาะสม เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนตามเป้าหมาย
โดยเมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนสุทธิ (NAV)เพิ่มขึ้นจากราคาเสนอขายครั้งแรกที่ 10 บาท ไปอยู่ที่ 11 บาทต่อหน่วย ณ วันใดวันหนึ่ง กองทุนก็จะดำเนินการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติทั้งหมด พร้อมเลิกกองทุน (โดยกองทุนจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดโดยอัตโนมัติภายใน 5 วันทำการ ถัดจากวันที่มูลค่าหน่วยลงทุนอยู่ที่ระดับ 11.00 บาท โดยจะนำเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนไปลงทุนในกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย แคช แมเนจเม้นจ์)
ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวมีจุดเด่นอยู่ที่การเป็นกองทุนผสมแบบไม่กำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารแห่งทุน โดยผู้จัดการกองทุนสามารถปรับลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นได้ตามความเหมาะสมกับสภาพตลาด ทำให้สามารถบริหารการลงทุนได้เป็นอย่างดีในทุกช่วงภาวะตลาดการลงทุน ซึ่งที่ผ่านมา กองทุนในกลุ่ม “อีควิตี้ ทริกเกอร์" ภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ประสบความสำเร็จและสามารถเข้าถึงผลตอบแทนเป้าหมายได้ โดยล่าสุดกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย ทริกเกอร์ 10% (5) และ (6) สามารถสร้างผลตอบแทนเป้าหมายได้ หลังจากลงทุนเพียงแค่ 3 เดือน 19 วัน และยังสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ คือ 10.44% และ 10.37% ตามลำดับ
ขณะที่ นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน ฝ่ายจัดการลงทุน บลจ. ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) กล่าวว่า เนื่องจากอัตราปันผลเฉลี่ยของตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกับเงินปันผลเฉลี่ยของประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของทุกประเทศทั่วโลก เช่น 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนปันผลเฉลี่ย 4.3% ในขณะที่ประเทศ เช่น เกาหลีใต้ให้ปันผลเฉลี่ยเพียง 1.6% และฟิลิปปินส์มากสุดก็เท่ากับ 3.4% เท่านั้น
และใน 2-3 ปีข้างหน้า ตลาดหุ้นไทยก็ยังน่าจะสร้างผลตอบแทนปันผลเฉลี่ยในอัตราที่สูงกว่าต้นทุนดอกเบี้ยที่ค่อนข้างต่ำมากทั่วโลก ที่สำคัญกว่านั้น แนวโน้มการทำกำไรของตลาดหุ้นไทย (Earnings Consensus) จากข้อมูล Bloomberg (ณ กันยายน 2555) พบว่าใน 3-4 ปียังเห็นเป็น uptrend เหมือนกับในช่วงปีรัฐบาลสมัยที่เริ่มลงทุนในอีสเทิรน์ซีบอร์ด