นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PTTGC เปิดเผยว่า ช่วง 10 ปีข้างหน้า(ปี 55-65)รายได้จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 5% ไปเป็น 7-8 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงละ 5 ปี โดยวางเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากสินค้ามูลค่าสูง (High Value Specialty: HVS) เป็น 20% จากปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 5% ของรายได้รวม โดยที่บริษัทได้เข้าซื้อกิจการจากเจ้าของเทคโนโลยีต่างประเทศ ได้แก่ Nature Work , EMery, MYRANT และ Vencorex (เดิมชื่อ Perstorp) เพื่อเน้นรองรับอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจก่อสร่างที่มองว่าเป็นอุตสาหรรมดาวรุ่ง
สำหรับปีนี้คาดรายได้อยูที่ 5.64 แสนล้านบาท เพิ่มจากเดิมมีเป้าหมายที่ 4 แสนล้านบาท เนื่องจากการควบรวมระหว่างกันทำให้เกิดประสิทธิภาพการผลิต มีการใช้กำลังการผลิตเต็มที่ และตลาดเอเชียเติบโตสูง โดยเฉพาะ จีน ส่วน EBITDA ในปีนี้คาดว่าอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันในปีนี้คาดเฉลี่ยที่ 105 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ต่ำกว่าปีก่อนที่ราคาน้ำมันเฉลี่ย 109 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และคาดว่าในอีก 5 ปี EBITDA จะเติบโต 20-30% หรืออีกอย่างน้อย 1 หมื่นล้านบาท
PTTGC มีแผนตั้งฐานการผลิตในต่างประเทศ (New Global Hub) ที่ศักยภาพการตลาดสูงและใกล้แหล่งวัตถุดิบ เพื่อมุ่งสู่ผู้นำปิโครเคมีครบวงจรระดับโลก โดยได้เจรจากับ Sinochem ของจีนที่จะช่วยด้านการตลาดให้กับบริษัท คาดว่าเร็วๆนี้จะได้ข้อสรุป อย่างน้อยภายในปีนี้น่าจะได้ข้อสรุปเรื่องความร่วมมือด้านการตลาด
และช่วง 5 ปีนี้บริษัทได้ตั้งงบลงทุนที่ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่จะมีการทบทวนอีกครั้งในช่วงปลายปีนี้ โดยการจัดหาเงินทุนจากการดำเนินงานก่อนจะก่อหนี้ เพื่อไม่ให้อัตราหนี้สินต่อทุน(D/E)เกิน 0.7 เท่า และอัตราหนี้ต่อ EBITDA ไม่เกิน 2.4 เท่า
นายอนนต์ กล่าวอีกว่า บริษัทยังมองการขยายฐานการผลิตไปที่อินโดนีเซีย ซึ่งมีทั้งแหล่งวัตถุดิบและตลาด ที่จะใช้เป็นฐานรองรับตลาดอาเซียนที่แนวโน้มประขากรเติบโตสูง และมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างปิโตรคอมเพล็กซ์ รวมทั้งมองที่สหรัฐ เพราะมีก๊าซจำนวนมากที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตที่ถูกกว่าใช้แนฟทา
ขณะเดียวกันฐานการผลิตในประเทศจะขยายกำลังการผลิตด้วยวิธี debottleneck ในช่วง 5 ปีข้างหน้า แต่ใช้เงินลงทุนไม่สูง โดยระหว่างนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ ได้แก่ โรงงานโอเลฟินส์ที่ขยายได้อีก 20% เป็น 1.2 ล้านตัน จากปัจจุบันมีกำลังผลิต 1 ล้านตัน
"การลงทุนในระยะสั้นมุ่งสร้างมูลค่เพิ่มบนพื้ฐานที่มีอยู่แล้ว โดยเรายังสามารถเก็บเกี่ยว Synergy Value และเราจับเทรนด์ใหม่ภูมิภาคนี้ที่มีอุตสาหกรรมเติบโตสูง คือ รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และก่อสร้าง...โดยเข้าร่วมมือกับพันธมิตรที่มีเทคโนโลยี และมองหาฐานผลิตในต่างประเทศจากที่เรามีฐานผลิคแข็งแกร่งในประเทศไทย เรามองฐานผลิตในจีนเป็นอันดับแรก ต่อไป PTTGC จะดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โตอย่างน้อยปีละ 5%"นายอนนต์ กล่าว
นายปฏิภาณ สุคนธมาน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี PTTGC กล่าวเสริมว่า แม้ว่าปัจจุบัน บริษัทจะส่งออกสินค้าไปจีนจำนวนมาก หรือคิดเป็น 13% ของรายได้รวม แต่ส่วนใหญ่ผ่านบริษัทเทรดดิ้ง ดังนั้นหากบริษัทเข้าไปตั้งฐานผลิตและขายสินค้าเอง จะรับรู้ถึงความต้องการของผู้บริโภคได้ดี และสร้างผลิตภัณฑ์ตรงความต้องการได้ดี รวมทั้งมีความสัมพันธ์ลูกค้าด้วย โดยคาดว่ากลางปีหน่าจะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างบริษัทกับ Sinochem ซึ่งจะมุ่งเน้นไปทำสินค้าที่มีมูลค่าสูง โดยเบื้องต้นมองว่าจะผลิต สาร TDI และผลิตโพลียูริเทน ที่ใช้ TDI เป็นสารตั้งต้นในการผลิต
นายบวร วงศ์สินอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTGC กล่าวว่า ผลจากการควบรวมทำให้บริษัทได้ประโยชน์ในรูป EBITDA 200 ล้านบาท ในปีหน้าอีก 35 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะมีต่อเนื่องไป 15 ปี โดยประมาณการได้ 80-154 ล้านเหรียญต่อปี
ทั้งนี้ PTTGC มีกำลังการผลิต ปัจจุบันที่ 8.45 ล้านตัน/ปี เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปิโตรเคมีรายใหญ่ของประเทศ และเป็นอันดับ2 ในอาเซียนรองจากปิโตรนาส