รวมทั้งการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ในปี 58ที่จะส่งผลทำให้กรุงเทพอาจจะไม่ใช้จุดบินที่เชื่อมต่อเข้ากับประเทศใกล้เคียงไทย ซึ่งปัจจุบันเวียดนามมีเที่ยวบินตรงไปพม่าโดยไม่ผ่านกรุงเทพ และแนวโน้มการบินที่ไม่ต้องเชื่อมหรือต่อเที่ยวบินที่กรุงเทพจะมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยน landscape hub
จากจุดนี้มีผลต่อสายการบินไทยซึ่งบริษัทต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เพราะเห็นว่าหลังจากที่เวียดนามแอร์ไลน์ทำการบินเองผู้โดยสารจากเวียดยามลดลงเหลือ 60% จาก 80% ขณะที่การเชื่อมต่อเที่ยวบินจากเที่ยวบินต่างประเทศไปต่อจังหวัดอื่นในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นลักษณะคอขวด หากไม่มีการให้บริการที่ดีขึ้นผู้โดยสารอาจตัดสินใจบินตรงเพื่อความสะดวกรวดเร็วดังนั้นจึงต้องมีการประสานงานร่วมกับทั้ง บมจ.ท่าอากาศยานไทย(AOT) สายการบินต่างๆ ผู้ประกอบการในท่าอาศยานและที่สำคัญกฎระเบียบของภาครัฐที่จะยืดหยุ่นให้กับการเดินทาง
นายโชคชัย คาดธุรกิจการบินในปี 56 ดีขึ้นจากปีนี้ที่คาดเศรษฐกิจโลกขยายตัวกว่า 3% โดยเศรษฐกิจของประเทศแถบเอเชียยังปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจยุโรปเห็นการฟื้นตัว โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนและอินเดียจะขยายตัวขึ้นเป็น 7.2% ในปีหน้าจากปีนี้ขยายตัว 6.7% ส่วนเศรษฐกิจยุโรป คาดปีหน้าเป็นบวกที่ 0.2% จากปีนี้ติดลบ 0.4%
ส่วนราคาน้ำมันในปีหน้าทรงตัวในระดับสูง จากปีนี้ที่คาดว่าราคาน้ำมันอากาศยานอยู่ที่ 124.9 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล น้ำมันเบรนท์อยู่ที่ 104.94 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะมีความผันผวนที่ค่าเงินยูโรและเงินเยนอ่อนค่ากระทบต่อรายได้ของสายการบินก็ตาม
ทั้งนี้ คาดปริมาณการขนส่งเติบโตขึ้น ซึ่งในปี 56 สายการบินในเอเชียมีอัตราเติบโต 4-5% สอดคล้องกับปริมาณการผลิต(capacity) โดยประเมินว่าปีหน้า Passenger Traffic เติบโต4.5% จากปีนี้โต 5.3% และการขนส่งสินค้า(cargo) คาดปีหน้าเติบโต2.4% จากปีนี้ที่ไม่เติบโต โดยไทยหรือท่าอาศยานสุวรรณภูมิยังเป็นเป้าหมายของสายการบินต่างๆขณะที่ผู้โดยสารจากจีนญี่ปุ่น อินเดีย รัสเซีย เกาหลีทั้ง5ประเทศนี้คิดรวมเป็น40%ของนักท่องเที่ยวโดยรวมบินเข้ามาไทยและมีแนวโน้มเติบโตไม่หยุด
"เชื่อว่าในปี 2013 สายการบินในเอเชียน่าจะมีกำไรสูงขึ้น" นายโชคชัย กล่าว