ส่วนในปี 56 ตั้งเป้าหมายรายได้ค่าธรรมเนียมในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นกว่า 17% และมียอดสินเชื่อเติบโตขึ้นประมาณ 4-6% โดยธนาคารมีความพร้อมในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้แข่งขันในระดับภูมิภาคได้ ทั้งในด้านตลาดทุนและการให้คำปรึกษาทางการเงิน การจับคู่ธุรกิจกับพันธมิตร (Business Matching) เพื่อรองรับการขยายตัวและการปรับตัวของธุรกิจ
ขณะเดียวกันพร้อมให้บริการด้านการจัดการทางการเงิน เช่น ทำระบบชำระเงิน (Payment solution) ในระดับภูมิภาค ซึ่งมีเป้าหมายปี 56 ในการเป็นธนาคารที่ลูกค้าใช้บริการเป็นธนาคารหลัก (Main Operating Bank) โดยใช้กลยุทธ์ 3 ส่วน คือ การให้คำปรึกษาทางด้านการระดมทุน การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในเรื่องของการปรับโครงสร้างองค์กร และการบริหารจัดการทางการเงินทางด้านการระดมทุน
นายวศิน กล่าวว่า ในปี 6 ยังคงมีปัจจัยทางเศรษฐกิจจากภายนอกประเทศที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า ขณะที่สถานการณ์ในยูโรโซนยังคงเปราะบาง ส่งผลให้ตลาดเงินและตลาดทุนมีความ ผันผวนเพิ่มขึ้น ทั้งจากอัตราแลกแปลี่ยนและความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ของคู่ค้าระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน ปัจจัยในประเทศเรื่องเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ จะเพิ่มแรงกดดันด้านต้นทุนของผู้ประกอบการด้วย
ทั้งนี้ จากการศึกษาดัชนีทางการเงินของผู้ประกอบการไทย พบว่า ส่วนใหญ่ยังมีพื้นฐานที่ดี แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการรับมือต่อการแข่งขันของภูมิภาคได้ โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการประมาณ 70% มียอดขายเติบโตเฉลี่ย 10-20% และประมาณ 53% มีศักยภาพในการทำกำไรขั้นต้นที่ดี ที่ระดับมากกว่า 20% ซึ่งบ่งชี้ถึงความสามารถในการรับแรงต้านทางในการแข่งขันด้านราคาจากตลาดโลก และยังพบว่าผู้ประกอบการประมาณ 65% มีสัดส่วนหนี้ต่อทุนในเกณฑ์ต่ำกว่า คือประมาณ 2.0 เท่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพื้นฐานที่ดีด้านเงินทุนและการทำกำไรที่พร้อมรองรับการขยายตัวเพิ่มขึ้นทางธุรกิจผ่านการลงทุนและการกู้ยืม
อย่างไรก็ตาม ในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ ประเทศไทยจะไม่ใช่แหล่งผลิตที่มีค่าแรงต่ำอีกต่อไป โดยเวียดนาม อินโดนีเซีย กัมพูชาและพม่า จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยต้องมีการปรับตัว เสริมศักยภาพในการแข่งขันด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริหารจัดการ การวางระบบบริหารการเงินและการตลาดในระดับภูมิภาคเพื่อรองรับกระแสการค้าและการลงทุนข้ามชาติ ที่สำคัญก็คือ การลงทุนสร้างแบรนด์และการวิจัย (R&D) จะส่งผลดีในระยะยาวในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการได้ ขณะเดียวกันก็ต้องบริหารจัดการความเสี่ยงของธุรกิจ ทั้งทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนและการค้าเพื่อลดความเลี่ยงจากส่วนต่างของกำไรที่อาจจะลดลง
สำหรับอุตสาหกรรมหลักจะยังคงเป็นอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อาหารและเครื่องดื่ม วัสดุก่อสร้าง ยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ และค้าปลีก โดยมีการใช้จ่ายของภาครัฐและเอกชนภายในประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยที่จะช่วยลดผลกระทบในเชิงลบจากปัจจัยภายนอกได้