"ไทยคม มีความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของระบบไอพีสตาร์ ซึ่งด้วยศักยภาพของไอพีสตาร์ จะทำให้การขยายโครงข่ายระบบสื่อสารและบริการเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงโครงข่ายสื่อสาร หรือพื้นที่ที่มีโครงข่ายสื่อสารใช้งานไม่เพียงพอ ภายใต้ราคาที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับการติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายภาคพื้นดิน ซึ่งการให้บริการเชื่อมโยงโครงข่ายไวแมกซ์ผ่านดาวเทียมไอพีสตาร์ในประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้ เป็นบทพิสูจน์ที่ดีเยี่ยมอีกครั้งหนึ่งถึงประสิทธิภาพของไอพีสตาร์" นางศุภจีกล่าว
ด้านนายอาคิโอะ โนซากะ ประธาน บริษัท ยูคิว คอมมิวนิเคชั่นส์ เปิดเผยว่า ยูคิวฯ ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและคิดค้นระบบการสื่อสาร โดยการใช้งานโครงข่ายไวแมกซ์ผ่านดาวเทียมบรอดแบนด์ ‘ไอพีสตาร์’ ซึ่งในอนาคตหากเกิดเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหวขึ้น ระบบโครงข่ายไวแมกซ์ จะช่วยกู้การสื่อสารและบริการให้กลับคืนสู่การใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
โดยการให้บริการไวแมกซ์ในครั้งนี้ ยูคิวฯ ได้ร่วมมือกับฮิตาชิ ในการพัฒนาสถานีภาคพื้นดิน Access Service Network Gateway (ASN-GW) ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อการใช้งานร่วมกับไอพีสตาร์ และยังจะเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้พัฒนาโซลูชั่นและบริการอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าได้ในอนาคต