ส่วนนโยบายการลดอัตราการจ่ายปันผล เชื่อว่าคงไม่เป็นปัญหาต่อผู้ถือหุ้น เพราะหากเห็นว่าธนาคารสามารถขยายตัวได้ดี จะสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้นไม่เฉพาะการจ่ายปันผล แต่จะส่งผลต่อราคาหุ้นด้วย
"ปันผลไม่คิดว่ามีปัญหา เงินกองทุนยังเพียงพอ ยังบริหารจัดการได้อยู่ แต่อนาคตหากมีโอกาสการลงทุน เราโต 30-40% อีก 2-3 ปี ผู้ถือหุ้นคงอยากเพิ่มทุนให้เรา แต่ณ วันนี้ ยังไม่คิดว่ามีความจำเป็นมากมาก...เราคงมองยาวๆ เพราะปกติเราจะเติบโตที่ 12-15% ซึ่งยังเป็นระดับที่สามารถจ่ายปันผลได้ในระดับหนึ่งด้วย โดยไม่ได้ใช้เงินกองทุน" นางอรนุช กล่าว
นอกจากนี้ ธนาคารยังคงเน้นการบริหารต้นทุนให้อยู่ระดับต่ำ หารายได้ค่าธรรมเนียมมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการเติบโตของธนาคารได้ดี มีการบริหารจัดการภายในกลุ่มใหมีการใช้เงินทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุด
ส่วนการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เริ่มเกณฑ์กำกับดูแลตาม บาเซิล 3 ไม่ได้มีผลกระทบต่อธนาคาร โดยการปรับเกณฑ์การตั้งสำรองหนี้ใหม่ นั้นไม่มีผลกระทบ เพราะธนาคารได้มีการเตรียมการในเรื่องในมานานแล้ว และมีการตั้งสำรองที่สูงกว่าที่กำหนด แต่ยอมรับว่า การปรับอัตราเสี่ยงต่อสภาพคล่อง จะส่งผลกระทบต่อธนาคารทุกแห่งแน่นอน ซึ่งขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างการทบทวนเกณฑ์ใหม่ ทั้งคำจำกัดความและอัตราส่วน แต่โดยรวมการใช้ บาเซิล 3 คงไม่มีผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ไทยไม่มากนัก
สำหรับปี 56 ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อขยายตัว 12-15% โดยจะพิจารณาจากมาตรการต่างๆของรัฐบาลและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เป็นการขยายตัวของสินเชื่อเช่าซื้อราว 10-12% สินเชื่อเอสเอ็มอี 20% และสินเชื่อ Corporate ที่ 20% โดยการขยายตัวที่ชะลอลงจากปีก่อนที่สินเชื่อขยายตัว 34% ไม่ได้เป็นข้อจำกัดจากระดับเงินกองทุนแต่อย่างไร แต่หากมีโอกาสในการขยายสินเชื่อได้มากกว่าเป้าหมาย ธนาคารก็พร้อมดำเนินการ การปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ยังคงเน้นธุรกิจพลังงาน ลอจิสก์ติค ท่องเที่ยว ซึ่งยังขยายตัวได้ดี ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะเน้นปล่อยสินเชื่อในโครงการที่มีทำเลดีๆเท่านั้น
ส่วนสินเชื่อที่ให้ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI) ยอมรับว่า บริษัทมีความชัดเจนของการแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง มีความสามารถในการเพิ่มทุน แต่ยังเป็นสินเชื่อที่ยังต้องติดตามต่อไป แม้ขณะนี้ราคาเหล็กจะปรับขึ้นเล็กน้อย
"ถือว่าตอนนี้อยู่ในภาวะเฝ้าระวัง เพราะที่ผ่านมามีโรงเหล็กหลายแห่งปิดไปแล้ว SSI โดนหลายเรื่อง ทั้งน้ำท่วม เศรษฐกิจยุโรป วิกฤติราคาเหล็ก แต่บริษัทก็ยังแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง...เจ้าของใส่เงินไปยเอะมาก ตอนนี้ก็มียักษ์ใหญ่จากสวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่นมาใส่เพิ่มให้ ดังนั้นตอนนี้น่าจะอยู่ในช่วงการปรับตัว ราคาเหล็กจะยังนิ่งๆหรือยัง" นางอรนุช กล่าว
ส่วนการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในโครงการรถคันแรก มองว่าไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาหนี้เสีย เนื่องจากมองว่า หากสามารถผ่อนชำระได้อย่างน้อย 1 ปี ภาระหนี้ลดลงในระดับหนึ่งแล้ว และการรองรัฐบาลจ่ายคืนเงิน 1 แสนบาท ยังต้องใช้เวลา 12-15 เดือน นั้น น่าจะพิจารณาจากวินัยทางการเงินได้ ประกอบกับธนาคารจะให้มีผู้ค้ำประกันในการยื่นขอสินเชื่อ มีการใช้สูตรการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวด นอกจากนี้มองว่าโครงการรถคันแรกได้เพิ่มความต้องการซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นเพียง 2 แสนคันเท่านั้น เห็นได้ว่า ปีก่อนมียอดขายรถยนต์ที่ 1.4 ล้านคัน ปีนี้ ตั้งเป้ายอดขายรถยนต์ที่ 1.2-1.25 ล้านคัน ซึ่งลดลงไม่มาก
ขณะที่ส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ในปีนี้ คาดว่าจะสูงกว่าปีก่อน โดยอยู่ที่ 3% จากปีก่อนอยู่ที่ 2.7-2.8% เนื่องจากปีก่อน มีต้นทุนที่สูงขึ้นจากการนำส่งเงินค่าธรรมเนียมเงินฝากที่เพิ่มขึ้น ส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จะรักษาให้ทรงตัวที่ระดับ 1.2% เท่าสิ้นปี 55 เนื่องจาก NPL ของธนาคารถือว่าอยู่ในระดับต่ำที่สุดของอุตสาหกรรมแล้ว
ธนาคารยังมีแผนออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ปีนี้อีกราว 1 พันล้านบาท ซึ่งสามารถใช้เพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 2 ได้ โดยจะไม่มีการออกหุ้นกู้อีก เนื่องจากไม่เกิดประโยชน์ต่อเงินกองทุน
กลุ่มทิสโก้ ยังได้ร่วมทุนกับดอยซ์แบงก์ในธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ในอีก 1-2 เดือน ซึ่งการร่วมทุนดังกล่าวจะทำให้การนำเสนอสินค้าไปลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงในตลาด AEC ทำได้มากขึ้น
นางอรนุช กล่าวอีกว่า ใปนี 56 มองว่าเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ต่อเนื่องในระดับ 4.5-5% โดยเศรษฐกิจโลกเริ่มนิ่ง มองเห็นทางออกการแก้ปัญหาแล้ว ทั้งสหรัฐ ที่ปัญหา fiscal cliff คลี่คลาย ส่วนยุโรป ยังมีปัญหาคุกรุ่นอยู่ แต่ยเริ่มเห็นภาพการแก้ปัญหา
ทั้งนี้ในส่วนของธนาคารจะเน้นการปรับตัวให้ทันการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ ดังนั้น ปีนี้ได้วางกลยุทธการขยายตัวใน 4 ด้าน คือ การขยายเครือข่ายฐานลูกค้า ขยายช่องทางบริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ให้บริการที่ปรึกษาทางการเงินครบวงจรแก่ลูกค้าทุกกลุ่ม การขยายธุรกิจแบบ Selective Focus เลือกดำเนินธุรกิจในตลาดที่มีความชำนาญ และเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตและมีตลาดรองรับ การขยายประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ด้วยการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและการกำกดับดูแลกิจการดที่ดี และการขยายแบรนด์ ให้เกิดการรับรู้ในแบรนด์ทิสโก้ในวงกว้าง รองรับการขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
"การรักษาฐานที่มั่นในประเทศ คือลูกค้าสินเชือรายย่อยเราทำได้ดีอยู่แล้ว ควบคู่ไปกับการแสวงหาโอกาสใหม่ๆในต่างประเทศ ให้ลูกค้า เพื่อรองรับการเปิด AEC ซึ่งเป็นทิศทางที่เราจะไปต่อจากนี้" นางอรนุช กล่าว