"ปีนี้ปีหน้า GLOW จะเติบโตจากการที่ขยายกำลังการผลิตมา 80% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กำไรจะเริ่มเข้ามาเต็มที่ตั้งแต่ปีนี้ จะเห็นกำไรก้าวกระโดด ในปีนี้เป็น 8 พันล้านบาท เราจะเห็น Big Growth ทุกไตรมาสจากนี้ไป" นายณัฐพรรษ ตันบุญเอก ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและนักลงทุนสัมพันธ์ GLOW
นอกจากนี้ ยังได้รับมาร์จิ้นสูงขึ้นหลังจากได้ปรับขึ้นค่า Ft ทำให้มาร์จิ้นที่เคยลดเหลือต่ำสุด 0.20 บาท/หน่วยกลับดีขึ้น จากราคาก๊าซปรับขึ้น และหลังจากปรับขึ้นค่า Ft แล้ว 2 รอบในครึ่งหลังปี 55 ทำให้มาร์จิ้นปรับดีขึ้น มาเป็น 0.59 บาท/หน่วย ทำให้ gas margin น่าจะดีกว่าปีที่แล้ว
รวมทั้งปีนี้ กำไรจากการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าถ่านหิน (Coal margin) ส่วนต่างราคาจากการผลิตจากถ่านหิน ปกติอยู่ที่ 1.60-1.70 บาท/หน่วย และในปลายปีมี 1.90 บาท/หน่วย ปีนี้น่าจะเห็นกว่า 2 บาท/หน่วย เพราะราคาถ่านหินปรับลดลง และเราก็ล็อคราคาถ่านหินทั้งปีแล้ว ซึ่งได้ราคาถ่านต่ำกว่าปีที่แล้ว
ทั้งนี้ สัดส่วน coal margin มีสัดส่วน 30% ส่วน gas margin 70%
นอกจากนี้ บริษัทวางแผนจะจ่ายเงินปันผลในปี 56-57 ที่คาดจะจ่ายเงินปันผลให้สูงกว่าปี 55 และได้กันเงินจ่ายเงินปันผลไว้แล้ว โดย 5 ปีย้อนหลัง มีการจ่ายเงินปันผล เพิ่มขึ้น 5% ต่อปี ซึ่งเป็นนโยบายผู้ถือหุ้นหลัก ยกเว้นมีการลงทุนใหญ่
อนึ่ง นโยบายจ่ายเงินปันผลอย่างน้อย 50% ของกำไรสุทธิ
ขณะเดียวกัน GLOW เตรียมจ่ายคืนหนี้ ในปี 56-57 เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมในการเข้าร่วมประมูลโรงไฟฟ้า IPP เพื่อลดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน(D/E) ลงมา ปรับให้ระดับปกติ คือ 1 เท่า จากปัจจุบัน 2 เท่า โดยปี 56 ลดเหลือ 1.5 เท่า ปี 57 เหลือ 1 เท่า
"สองปีนี้จะเร่งคืนหนี้ปีละ 8 พันล้านบาท รวม 1.6 หมี่นล้านบาท จากหนี้ปัจจัน 7 หมี่นล้านบาท ลดเหลือ 5.5 หมี่นล้านบาท"
และในปี 56-57 ยังไม่มีการลงทุนโครงการใหม่ มีแต่การซ่อมบำรุง ส่วนโครงการใหม่ กว่าจะใช้เงินก็เริ่มในปี 57 หรือต้นปี 58 ได้แก่ โครงการพลังงานลม ขนาด 50 เมกะวัตต์ ประมาณ 3 พันล้านบาท โครงการเชื่อนที่ลาว 2 แห่ง และขนาดไม่ใหญ่ 100 กว่า เมกะวัตต์ ลงทุนโครงการละ 4 พันล้านบาท รวมทั้งมองธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดใหญ่ไว้ด้วย ซึ่งคาดจะสรุปได้ใน 2-3 ปีนี้
"โครงการระยะกลางก็เป็นโครงการเล็ก ดังนั้น balance sheet เราก็มีเพียงพอทำ IPP อยู่แล้ว GLOW เราไม่เหมือนคนอื่น เรามีโรงไฟฟ้าที่เป็น Cogen 2 ใน 3 ของธุรกิจไฟฟ้า ซึ่งค่าไฟฟ้าจะไม่ drop เหมือน IPP ซึ่งจะไม่มี cashflow ไปกู้เพิ่ม แต่ความสามารถขกู้เงินของเรามีอยู่ตลอด" ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและนักลงทุนสัมพันธ์ GLOW
*เล็งประมูล IPP ได้ 2 โรงรวม 1,500 -2,000 MW
นายณัฐพรรษ กล่าวว่า บริษัทเตรียมยื่นเอกสารประกวดราคาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) ในรอบนี้ โดยได้เตรียมพื้นที่เดิมที่ไว้ใช้ประมูล IPP รอบที่แล้ว คือที่ต.ปลวกแดง จ.ระยอง ซึ่งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม บริษัทจะเข้าประมูล 2 SLOT หรือ 2 โรง รวมกำลังการผลิต 1,500 -2,000 เมกะวัตต์
"ไม่มีปัญหาอยู่แล้วสำหรับเรา เพราะพื้นที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม และติดกับผ่านท่อก๊าซ สายส่งห่าง 1.5 กม. ถ้าโครงการที่เป็น green field เหมือนกัน เราเชื่อว่า เราก็โอเค โลเกชั่นเราดีที่สุดที่หาได้แล้ว แต่ถ้าเทียบกับโรงไฟฟ้าเดิมทุบทิ้งสร้างใหม่ จะมีข้อได้เปรียบอยู่แล้ว ซึ่งได้แก่ RATCH , EGCO" นายณัฐพรรษ กล่าว
ทั้งนี้ ทีโออาร์ที่ประกาศเปิดประมูล 6 Slot ๆ ละไม่เกิน 1,250 เมกะวัตต์ หรือรวมทั้งหมด 5,400 เมกะวัตต์ โดยทั้งนี้ จะรู้ผลประมูลกลางปี 56 หลังปิดยื่นซองในปลายเดือน เม.ย.56 ซึ่งเขาคาดว่าทุกรายจะยื่นวันสุดท้าย 29 เม.ย.นี้ โดยคาดว่าจะมีผู้ประกอบการมากกว่า 6 รายเข้าร่วมประมูลในรอบนี้
รอบนี้ เชื่อว่า ผู้เล่นใหม่เข้ามายาก เพราะถ้าไม่มีที่ดิน เหนื่อย มีเวลาให้เพียง 4 เดือน หรือรายที่จะเจรจาหาผู้ร่วมทุนก็เหนื่อย เพราะฉะนั้นอาจจะประมูลไปก่อน ค่อยเจรจาทีหลัง ส่วน GLOW ไม่ได้ต้องการพาร์เนอร์ ในเรื่องการเงิน ความสามารถการกู้เงินเราเพียงพออยู่แล้ว แต่ยกเว้น มีพาร์นเนอร์ที่ช่วยเสริมศักยภาพการแข่งขันด้านไหนดีขึ้นเราอาจพิจารณา ได้แก่ ช่วยทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินต่ำลง หรือช่วยด้านเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนการก่อสร้างต่ำลง แต่วันนี้ยังเปิดกว้าง ขณะเดียวกัน เราเดินหน้าโครงการเราไปก่อน
นายณัฐพรรษ ระบุว่า รอบนี้แตกต่างจากรอบที่แล้ว การประเมินของทางภาครัฐซับซ้อนมาก โดยแบ่งการประมูลเป็น 6 slot ซึ่งจะให้ผู้เข้าประมูลเลือกว่าจะประมูล slot ไหนก็ได้ ซึ่งแต่ละ slot จะมีเวลาที่ก่อสร้างและเริ่มจ่ายไฟแตกต่างกัน แล้วเวลาประเมิน เราเชื่อว่าเขาจะต้องเข้าโมเดลคณิตศาสตร์ ทำให้ผู้เข้าประมูลเก็งยากกว่ารอบที่แล้ว เพราะฉะนั้นหน้าที่เราคือทำราคาให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ เท่าที่เราจะเสนอได้
ฉะนั้นรอบนี้ ผู้ประกอบการมีความเสี่ยงเต็มๆ คือเรื่องการเงิน เพราะภาครัฐ จะไม่มีค่าเผื่อ หรือค่าเค ดอกเบี้ยจะขึ้นอย่างไรเป็นความเสี่ยงของผู้ประกอบการ ซึ่งก็เป็นความยากอีกเช่นกัน การล็อคดอกเบี้ยระยะยาวกับสถาบันการเงินเป็นไปได้ยาก เป็นสองเรื่องที่เป็นเป็นความยากในการประมูลรอบนี้ ทั้งต้นทุนการเงิน และต้นทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า ทั้งนี้ โรงไฟฟ้า IPP แห่งแรกจะเริ่มก่อสร้างในปี 60 และจ่ายไฟได้ในปี 64
นายณัฐพรรษ คาดว่า จะชนะประมูล 50/50 รอบนี้ยากจริงๆ จะเก็งว่าจะชนะยาก นอกจากนี้ในทีโออาร์ กำหนดการควบคุมของกรรมการ ถ้ารัฐวิสาหกิจมีอำนาจแต่งตั้งบอร์ดเกินครึ่ง ถือว่ามีอำนาจควบคุม หรือ เท่ากับครึ่งหนึ่งบวกประธานกรรมการ
"สิ่งที่กังวลมากที่สุด คือทั้งเรื่องค่าก่อสร้าง และ ต้นทุนการเงิน แต่ GLOW อาจจะแตกต่าง...ตอนนี้เหลือประเด็นหลักใครจะติดปัญหาคุณสมบัติ bid ได้ไม่ได้ , ทำอย่างไรให้ตัวเอง สามารถแข่งขันได้ โดย GLOW เราไม่มีปัญหาคุณสมบัติ เราเห็นจากการประมูลครั้งก่อนว่าเราแพ้เพราะอะไร" นายณัฐพรรษ กล่าว