ขณะที่ตั้งเป้า NPL อยู่ที่ 3.0-3.5% จากสิ้นปี 55 NPL อยู่ที่ 3.3% และส่วนต่างดอกเบี้ย (สเปรด)อยู่ที่ 3.7% จากปี 55 ที่มีส่วนต่าง 3.9%
และมีแผนขายสินทรัพย์รอการขาย (NPA) จำนวน 2.5 พันล้านบาท โดยยังไม่มีแผนเปิดสาขาเพิ่มจากปัจจุบันมี 87 แห่ง แต่จะเน้นการปรับปรุงรูปแบบการให้บริการสาขา ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายธุรกิจ
ทั้งนี้การที่ธนาคารมุ่งการปล่อยสินเชื่อธุรกิจมากขึ้น เนื่องจากมองว่า สินเชื่อบุคคล สินเชื่อรายย่อย เริ่มมีวัฎจักรการเติบโตที่ชะลอลง ดังนั้นในกลุ่มของ KK จึงจะใช้ประโยชน์จากการควบรวมกิจการให้มากที่สุด ทั้งธุรกิจที่สามารถดำเนินการหรือต่อยอดได้ทันที โดยสินเชื่อธุรกิจจะใช้โอกาสของการมีลูกค้าในตลาดทุนในการขยายสินเชื่อหรือธุรกรรมอื่นๆ
"ในส่วนของกลุ่มเกียรตินาคินตอนนี้ถือว่ามีทรัพย์สินของลูกค้าที่ต้องดูแลกว่า 4 แสนล้านบาท หากเป็นไปตามแผน หวังว่าจะสร้างรายได้ส่วนนี้ให้มากขึ้น โดยไม่มุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อเชิงรุก เพราะเริ่มเห็นวัฎจักรของธุรกิจ แต่จะใช้ประโยชน์จากการควบรวมกิจการ...เห็นได้ว่าแค่ 4 เดือนหลังควบรวม รายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น 60% ดังนั้นโครงสร้างรายได้และกำไรของกลุ่มจะเริ่มเปลี่ยนไป เราจะเริ่ม inline คล้ายกับแบงก์ใหญ่ หรือแบงก์เล็กเช่นทิสโก้ ที่มีธุรกิจครบวงจร" นายอภินันท์ กล่าว
นายชวลิต จินดาวณิค ประธานสายการเงินและงบประมาณ KK กล่าวว่า ในปี 56 คาดว่ารายได้และกำไรของธนาคารยังคงเติบโตอย่างก้าวกระโดดต่อเนื่องจากปี 55 ซึ่งเป็นผลจากการควบรวมกิจการ ไม่ได้เป็นการเติบโตจากการดำเนินธุรกิจ
ทั้งนี้ Spread ในปีนี้ที่ลดลง เนื่องมาจาก cost of fund ในการระดมเงินฝาก ที่จะมีต้นทุนที่แตกต่างกัน ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยจะเป็นรายได้คงที่เป็นส่วนใหญ่ แม้ ธนาคารจะประเมินว่าดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้จะยังทรงตัวที่ 2.75% ประกอบกับการที่ธนาคารมุ่งเน้นขยายสินเชื่อธุรกิจมากขึ้นซึ่งจะมีมาร์จิ้นที่ต่ำกว่าสินเชื่อรายย่อย
สำหรับการปล่อยสินเชื่อในโครงการรถคันแรก ในส่วนของ KK มีการปล่อยสินเชื่อส่วนนี้ราว 2 หมื่นคัน จากยอดขายรถยนต์ในโครงการดังกล่าวกว่า 1.2 ล้านคัน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณการเกิด NPL แต่ยอมรับว่าเป็นสินเชื่อที่ต้องติดตามใกล้ชิด เนื่องจากทำให้ความสามารถในการหารายได้เพื่อชำระหนี้มีเพิ่มขึ้น