ปัจจุบันอมตะมีที่ดินเหลือขาย 13,000-14,000 ไร่ แบ่งเป็น อมตะนคร 10,000 ล้านบาท อมตะซิตี้ 3-4 พันไร่
บริษัทมีแบ็กล็อกอยู่ 6,700 ล้านบาท พยายามที่จะรับรู้รายได้ทั้งหมดในปีนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับการทำโฉนดเพราะต้องรับรู้รายได้เมื่อโอน
นายวิบูลย์ กล่าวว่า ปีนี้ตั้งงบลงทุนไว้ 2,000 ล้านบาท สำหรับทำโครงสร้างพื้นฐานในนิคมอุตสาหกรรมของบริษัททั้ง 2 แห่ง โดยใช้ cash ที่มีอยู่และกู้บางส่วน นอกจากนี้ บริษัทเตรียมจัดกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้เพราะเป็นปีสุดท้าย โดยจะเอาอมตะเรดี้บิ้วดิ้งซึ่งเป็นโรงงานสำเร็จรูป ทั้ง 2 นิคมฯ รวม 108 โรงงาน มูลค่าสินทรัพย์รวม 1,800 ล้านบาท ขายเข้ากองทุน ซึ่งมูลค่าสินทรัพย์นี้สร้างรายได้ปีละ 300-400 ล้านบาท
นายวิบูลย์กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างศึกษานโยบายการให้เช่าที่ดินระยะยาวกับลูกค้าจากปัจจุบันเป็นการขายให้ลูกค้า ตอนนี้รอความชัดเจนอยู่ โดยศึกษาสัญญาเช่าเทียบกับเพื่อนบ้าน เนื่องจากถ้าทำเป็นสัญญาเช่าระยะยาวก็จะเป็นการสร้างรายได้ระยะยาวให้กับบริษัท และที่ดินยังเป็นสินทรัพย์ของบริษัทด้วย
ทั้งนี้ ยังมองว่าต่างประเทศยังมีการย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทยต่อเนื่องจากโดยเฉพาะผู้ลงทุนจากจีนและญี่ปุ่น อย่างญี่ปุ่นย้านฐานการผลิตมาไทยอยู่แล้ว ส่วนจีนก็ย้ายฐานมาไทยเพื่อกระจายความเสี่ยง เพราะสินค้าที่ผลิตในจีนถูกต่อต้านจากตลาดโลก อย่างไรก็ตาม มีข้อกังวลว่าจะมีการย้านฐานการผลิตไปอินโดฯมากขึ้นเพราะอินโดฯมีความต่อเนื่องเรื่องนโยบายทางการเมือง เพราะมีรัฐบาลทำงานต่อเนื่อง