อิมแพ็ค กำหนดมาตรการประหยัดพลังงานที่จะดำเนินการทันที โดยเน้นในส่วนของมาตรการที่ไม่ต้องลงทุนเป็นอันดับแรก เช่น การปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงาน การใช้ระบบเปิดปิดไฟฟ้าเป็นเวลา การใช้สวิทซ์ไฟกระตุก การลดใช้ในส่วนที่ไม่จำเป็น เป็นต้น และหลังจากนั้นได้พิจารณามาตรการที่ลงทุนน้อยไปจนถึงมากในการจัดหาระบบและเทคโนโลยีเพื่อช่วยลดค่าพลังงานไฟฟ้าในศูนย์ฯ ภายใต้งบลงทุนรวมแล้วกว่า 10 ล้านบาท ได้แก่ ปรับเปลี่ยนระบบเซนเซอร์ ระบบไฟแสงสว่างระบบควบคุมไฟแสงสว่าง และติดตั้งเครื่อง Chiller หรือเครื่องทำความเย็นในระบบปรับอากาศใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง
นายพอลล์ กล่าวเสริมว่า ในปี 55 อิมแพ็ค สามารถประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 21 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 13 ล้านบาท จากยอดการจัดงานเฉลี่ยต่อปี 800 งาน มีค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้ารวม 150 ล้านบาทต่อปี ซึ่งสิ่งสำคัญและถือเป็นหัวใจหลักที่ช่วยให้ อิมแพ็ค ประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าได้สำเร็จมาจากการประกาศดำเนินงานตาม มอก.50001 หรือมาตรฐานด้านการประหยัดพลังงาน เมื่อปี 54 มาอย่างต่อเนื่อง
และอีก 3 ปัจจัยสำคัญ คือ 1.การให้การสนับสนุนของคณะผู้บริหารระดับสูงที่เล็งเห็นความสำคัญในการประหยัดพลังงาน ปัจจัยที่ 2 การสร้างยอดขายพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นของฝ่ายขายทำให้การใช้พลังงานมีความคุ้มค่ามากขึ้น และปัจจัยสุดท้ายคือการให้ความร่วมมือที่ดีและการมีส่วนร่วมของพนักงานภายในบริษัทและความร่วมมือจากความเข้าใจเรื่องการช่วยประหยัดพลังงานของลูกค้า
อย่างไรก็ตาม หากเกิดวิกฤตพลังงานไฟฟ้าในเดือนเมษายนตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ เชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบกับศูนย์ฯ ด้วยอิมแพ็คได้เตรียมมาตรการป้องกันเหตุไฟฟ้าขัดข้องดังกล่าวไว้เป็นอย่างดี กอรปกับช่วงเวลาดังกล่าวพื้นที่อิมแพ็คมียอดจองจัดงานเพียง 9 งาน โดยเป็นงานประชุม สัมมนา งานแสดงคอนเสิร์ต และงานแต่งงาน ซึ่งยอดจัดงานสิ้นสุด ณ วันที่ 9 เม.ย.56 หลังจากนั้นเป็นช่วงใกล้เทศกาลสงกรานต์ทำให้ไม่มียอดจองจัดงาน และจะเริ่มจะจัดงานอีกครั้งหลังสงกรานต์ แต่เพื่อเป็นการไม่ประมาททางอิมแพ็คได้ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง เขตนนทบุรี วางมาตรการป้องกันเหตุแล้วขณะนี้