ด้านนายอัฐ ทองแตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือโรงพยาบาลพญาไท และเครือรพ.เปาโลเมมโมเรียล เปิดเผยว่า ในปี 56 ตั้งเป้ารายได้ของกลุ่ม BGH เติบโตมากกว่า 10%และพยายามรักษาการเติบโตของกำไรสุทธิเท่าปีก่อนที่ 10% โดยในปีนี้มีเป้าหมายในการขยยายจำนวนโรงพยาบาลใหม่ 6 แห่ง ทั้งสร้างโรงพยาบาลใหม่ และการซื้อกิจการ โดยคาดว่าภายในครึ่งแรกปีนี้อาจจะสรุปดีลการซื้อกิจการ 1 ดีล
ในปีนี้บริษัทตั้งงบลงทุน 12% ของรายได้ เน้นการจัดหาแพทย์เฉพาะทาง รวมถึงการขยายพื้นที่โรงพยาบาล เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเติบโตและจำนวนคนไข้ที่เพิ่มขึ้น โดยการลงทุนสร้างโรงพยาบาลใหม่จะมีขนาด 150-200 เตียงจะใช้เงินลงทุนราว 1-1.5 พันล้านบาท ขณะที่การซื้อกิจการจะใช้เงินลงทุนราว 1 พันล้านบาท
นพ.ปราเสริฐ กล่าวว่า การเพิ่มจำนวนโรงพยาบาล 6 แห่ง จะเน้นในพื้นที่หัวเมืองหลักที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่หากในประเทศเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ และการเมืองมีความมั่นคงได้ดีกว่าคาด ก็มีโอกาสที่จะขยายโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นได้มากกว่าที่ตั้งเป้าไว้ 6 แห่ง
สำหรับการขยายธุรกิจในต่างประเทศ ปัจจุบัน เครือโรงพยาบาลร่วมมือกับพันธมิตรที่เป็นคลีนิคในพม่า ในการจัดส่งคนไข้มารักษา ซึ่งมองว่าการขยายบริการในประเทศเพื่อนบ้าน ขณะนี้พบว่าประเทศเพื่อนบ้านมีเศรษฐกิจที่เติบโตสูง แต่การขยายธุรกิจโรงพยาบาลนในประเทศใดก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศนั้นๆด้วย
"โรงพยาบาล ISH ของสิงคโปร์ที่เป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาค มีจำนวนเตียงที่มากกว่า ส่วน BGH ถือเป็นอันดับสอง แต่มองว่าเรามีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการได้สูงกว่า อย่างไรก็ตาม เราก็มีเป้าหมายที่จะก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนหนึ่งก็มีแผนขยายปริมาณโรงพยาบาลมากขึ้น ซึ่งปีนี้ในเครือมีแผนขยายโรงพยาบาล 6 แห่ง... ปีนี้เราโฟกัสในประเทศเป็นหลักก่อน ยุทธศาสตร์เน้นขยายฐานในประเทศให้แข็งแกร่ง วางกลยบุทธ์รองรับ AEC"นายอัฐ กล่าว
ขณะเดียวกันได้เล็งขยายธุรกิจโรงพยาบาลไปยังประเทศจีน เนื่องจากเศรษฐกิจจีนมีอัตราการเติบโตที่สูง มีจำนวนประชากรมาก แต่เนื่องจากเป็นประเทศที่มีความซับซ้อนทางการเมืองสูง ดังนั้น เบื้องต้นธุรกิจจึงต้องเป็นลักษณะความร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่นก่อน เช่น โรงพยาบาลท้องถิ่นที่อาจมีจข้อจำกัดในการรักษา โดยทางกลุ่ม BGH สนใจให้บริการแก่กลุ่มผู้มีบุตรยาก ซึ่งในจีนมีความต้องการด้านนี้อย่างมาก และ BGH ถือว่ามีศักยภาพการให้บริการได้ดี
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ยังมีปัญหาในการสื่อสารกับคนไข้ในการรักษาพยาบาล เนื่องจากเทคนิคในการรักษามีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นจะต้องทำให้คนไข้ร่วมมือในการตัดสินใจรักษาซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ
นายอัฐ กล่าวปฏิเสธกระแสข่าวเจรจาเข้าซื้อกิจการโรงพยาบาลพระราม 9 ว่า ไม่เคยมีการเจรจา และไม่เคยได้ยินเรื่องนี้ และในวันนี้ โรงพยายาลพญาไท 1 ได้มีการเปิดอาคาร 3 พร้อมปรับโฉมใหม่ พัฒนานวัตกรรมการรักษาในระดับราคาที่เหมาะสม โดยใช้เงินลงทุน 1 พันล้านบาทในการเพิ่มศักยภาพการให้บริการพัฒนาและนวัตกรรมการการให้การรักษา และรวมเทคโนโลยีในการรักษาใหม่ๆ มาให้บริการภายใต้คอนเซปต์ "Innovative and Boutique"เพื่อรองรับการเปิด AEC ในปี 58 ซึ่งจะทำให้มีชาวต่างชาติ เข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น และจะทำให้โรงพยาบาลเติบโตก้าวกระโดดหลังเปิด AEC
ด้าน น.พ. เกริกยศ ชลายนเดชะ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 1 กล่าวว่า ในปีนี้โรงพยาบาลพญาไท 1 ได้นำนวัตกกรรมการรักษาใหม่ๆมาให้บริการ เช่นนำหุ้นยนต์มาข่วยทำกายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยอัมพฤต์ อัมพาต การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องเอ็นโดสโคป และเลเซอร์ ซึ่งถือเป็นโรงพยาบาลแห่งแรก ซึ่งใช้เวลาผ่าตัดระยะสั้น และแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้รวดเร็ว การรักษาอัมพาตเฉียบพลันจากหลอดเลือด สมองตีบ ด้วยยุทธศาสร์ Drip and Shipt เป็นเทคนิคให้ยาละลายลิ่มเลือดแก่ผู้ป่วยอัมพาตได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา
นอกจากนี้ยังมีศูนย์การแทพย์เฉพาะทางให้บริการกว่า 20 ศูนย์ ปัจจุบันมีชาวต่างชาติเข้ามารักษาในโรงพยาบาลจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวรัสเซีย ส่วนใหญ่เป็นการรักษาโรคที่รักษาได้ยาก เช่น โรคมะเร็ง ซึ่งมีความซับซ้อนและมีเวลารักษานาน และมีค่าใช้จ่ายสูง