“โดยสินทรัพย์ในกองตราสารหนี้ บางส่วนจะลงทุนเป็นเงินฝากธนาคารต่างประเทศและในประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่ดีหรืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ขึ้นไป" นายธีรพันธุ์ กล่าว
สำหรับการลงทุน 3 เดือน เป็นกองทุนที่โรลโอเวอร์มาจากกองก่อนหน้านี้ FAM FIPR3M1 เป็นกองทุน specific fund โดยกองทุนจะพิจารณาลงทุนในตราสารแห่งหนี้ และ/หรือ เงินฝาก ของภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ เงินฝากธนาคารต่างประเทศสกุลเงิน USD หรือ CNY กับธนาคาร BOC, Macao, ธนาคาร CIMB, Niaga, Indonesia หรือเงินฝากสกุลเงิน AED ธนาคาร Abu Dhabi Commercial Bank, UAE (F1), ธนาคาร Union National Bank, UAE(P-1), ธนาคาร CBQ, Qatar, ตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ, ตั๋วแลกเงิน บมจ.ราชธานีลิสซิ่ง, ตั๋วแลกเงิน บมจ.ดั๊บเบิ้ล เอ (1991), ตั๋วแลกเงิน บจ.ธนบรรณ, ตราสารหนี้ บมจ.บัตรกรุงไทย, ตราสารหนี้ บมจ.เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง, หรือตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ BBB+ ขึ้นไป ตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
นายธีรพันธุ์ กล่าวอีกว่า หลังมีข่าวคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมประชุมด่วน หลังค่าเงินบาทแตะ 29.57 บาท เห็นว่า การที่ ธปท.ไม่ใช้นโยบายควบคุมเงินทุนไหลเข้า (Capital Control) เหมือนในอดีตเมื่อปี 2549 เพราะมีผลข้างเคียงของมาตรการดังกล่าวรุนแรงมากและถ้าใช้มาตรการนี้ จะมีคำถามว่า ถ้า กนง. กังวลค่าเงินบาทแต่กลับไม่ยอมลดดอกเบี้ยตั้งแต่แรก แต่การแทรกแซงค่าเงิน ก็เป็นต้นทุนต่อธปท. ดังนั้นถ้าเงินทุนยังไหลเข้าต่อเนื่องแบบนี้ จะทำให้โอกาสที่กนง.จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย จะมีความเป็นไปได้น้อยลง