"การลงทุนเพิ่มใน TTW จะทำให้บรรทัดสุดท้ายเปลี่ยนไป ซึ่ง TTW เป็นกิจขการที่ดี และซีเค พาวเวอร์เราจะร่วมขายหุ้นเดิม 20 ล้านหุ้น จะได้กำไรเท่าไรขึ้นกับราคา IPO ตอนนี้เชื่อว่าจะบันทึกกำไรจาก capital gain"นางพเยาว์ กล่าว
อีกทั้ง ในไตรมาส 1/56 บริษัทจะบันทึกกำไรจากการปรับมูลค่าการลงทุน TTW ในสัดส่วนเดิมที่ถือ 9% จำนวน 368.75 ล้านหุ้น จากต้นทุนเดิม 3.08 บาท/หุ้น ปรับมาเป็น 10.70 บาท/หุ้น ทำให้มีกำไรทางบัญชี 2.8 พันล้านบาท
ขณะที่ บริษัทคาดว่ารายได้จากค่าผ่านทางในปีนี้จะเติบโตมากกว่า 2% จากการที่ปริมาณจราจรบนทางด่วนที่คาดว่าจะเติบโต 2% เป็น 1.105 ล้านคัน/วัน จาก 1.084 ล้านคัน/วัน และบริษัทน่าจะได้ปรับขึ้นค่าผ่านทางด่วนทุกเส้นทางในวันที่ 1 ก.ย.56 ตามที่ได้เสนอต่อการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) อ้างอิงส่วนต่างของดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI) ในเดือน ก.พ. 56 และดัชนี CPI ในปี 51 ในการปรับขึ้นค่าทางด่วน แต่ทั้งนี้จะปรับขึ้นในอัตราเท่าใดขึ้นกับการเจรจากับ กทพ. อย่างไรก็ดี คาดว่าในช่วง 2 เดือนแรกหลังปรับขึ้นค่าทางด่วนปริมาณจราจรจรอาจจะชะลอตัวลงบ้าง
"เราเห็นว่าปีนี้เป็นปีที่ดีมาก นอกจากเฉลิมฉลองที่บริษัทครบ 25 ปี เราชื่อว่าจะได้ปรับค่าผ่านทาง และปริมาณจราจรไปได้ดี การลงทุนก็มี Return และปีนี้ขายได้มีกำไร คิดว่านักลงทุนค่างชาติเห็นเรื่องราวเล่านี้จึงได้เข้ามาซื้อก่อน โดยที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติเพิ่มอีก 3-4%"นางพเยาว์ กล่าว
อีกทั้งบริษัทได้ลงทุนทางด่วนพิเศษใหม่ ศรีรัช-วงแหวนรอบนอก มูลค่าลงทุน 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างเมื่อกลาง ธ.ค.55 คาดว่าจะแล้วเสร็จใน 15 ธ.ค.59 โดยความคืบหน้างานก่อสร้าง 2% รวมทั้งบริษัทได้ลงทุนอีก 200 ล้านบาทในการสร้างทางเชื่อมจากมักกะสันไปสนามบินสุวรรณภูมิที่จะเชื่อมกับด่านจตุรทิศ โดยเก็บค่าผ่านทาง 25 บาท จะใช้เวลาก่อสร้าง 16 เดือนหรือเริ่มรับรู้รายได้ปีหน้า
ปัจจุบันบริษัทหนี้สินรวม 1.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นกู้ 1.3 หมื่นล้านบาท และหนี้สถาบันการเงิน 2 พันล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 4% ทั้งนี้บริษัทมีนโยบายจะแปลงหนี้เป็นหู้นกู้ทั้งหมด
*เล็งตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานฯ เสนอขายปีนี้
นางพเยาว์ กล่าววา ขณะนี้ได้มีบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน 2 รายเข้ามาเสนอให้บริษัทจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งบริษัทมีคุณสมบัติครบถ้วน โดยจะนำรายได้ล่วงหน้าจากสัมปทานเส้นทางด่วนพิเศษที่บริษัทได้รับรู้รายได้ 100% ใน 3 เส้นทาง คือ ช่วงประชาชื่น-แจ้งวัฒนะ(sector C) ระยะทาง 8 กม. หมดอายุสัมปทานในปี 63 , ช่วงอโศก-ศรีนครินทร์ (Sector D) ระยะทาง 8 กม. หมดอายุในปี 70 และ ช่วงแจ้งวัฒนะ-บางปะอิน (Sector C+) ระยะทาง 32 กม. จะหมดอายุปี 69 โดยเส้นนี้อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (NECL)
ทางบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินหารือกับบริษัท หากเห็นว่ามีตัวเลขผลตอบแทนที่น่าสนใจก็จะจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งบริษัทคาดว่าจะสรุปเรื่องนี้ได้ภายในไตรมาส 2/56 และจะสามารถเสนอขายหน่วยลงทุนได้ทันในปลายปีนี้
"ตอนนี้มีเข้ามาคุย 2 ราย ซึ่งมีเส้นทางที่เหมาะสมเข้ากองทุนมี 3 เส้นทาง ...ถ้าตัวเลขน่าสนใจก็ออกทันในปีนี้ เพราะที่ปรึกษาการเงินเขาทำ ตารางเวลาให้ดู เสนอขายปลายปี ต.ค.-ธ.ค." นางพเยาว์ กล่าว