โดยบริษัทแบ่งประเด็นการจัดการด้านพลังงานออกเป็น 3 ส่วนคือ 1.การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 2.การปรับปรุงกระบวนการผลิตและวิธีปฏิบัติงานที่มุ่งลดการใช้พลังงาน เช่น การออกแบบกระบวนการผลิตที่ลดการใช้พลังงาน 3.การจัดการของเสียจากกระบวนการผลิตเพื่อนำกลับมาเป็นพลังงานทดแทน อาทิเช่น นำอุปกรณ์ Economizer ที่ดึงเอาความร้อนสูญเปล่านำกลับมาใช้ในระบบหม้อไอน้ำ ไบโอแก๊สจากฟาร์มสุกร ไบโอแก๊สจากระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
“หนึ่งในโครงการการจัดการพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม นั่นคือ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ของซีพีเอฟทั้ง 16 แห่ง จะใช้เชื้อเพลิงชีวมวล ทดแทนการใช้น้ำมันเตา ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิต โดยในแต่ละปีใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวรวม 100,000 ตัน สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ถึง 138,000 ตันคาร์บอนคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี หรือคิดเป็นการลดปริมาณการใช้น้ำมันเตาได้มากกว่า 46,000,000 ลิตรต่อปี" นายสุชาติ กล่าว
ในปี 2555 บริษัทมีโครงสร้างการใช้พลังงาน โดยแบ่ง 48% เป็นการใช้พลังงานไฟฟ้า 30% เป็นการใช้พลังงานธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (fossil fuel) อาทิ น้ำมัน ถ่านหิน ส่วนที่เหลืออีก 22% เป็นการใช้พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน เช่น เชื้อเพลิงชีวมวล ประเภท กะลาปาล์ม แกลบ ซังข้าวโพด ถ่านไม้ เศษไม้สับ ขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้มีการเพิ่มสัดส่วนเชื้อเพลิงหมุนเวียนที่หาได้จากชุมชนใกล้เคียงให้มากขึ้นเพราะไม่เพียงช่วยลดภาวะโลกร้อน ลดการนำเข้าเชื้อเพลิง แต่ยังช่วยกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น และเพิ่มการจ้างงานและรายได้ของชุมชนอีกด้วย โดยสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากในปี 2551 มีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ 14% และเพิ่มขึ้นเป็น 22% ของการใช้พลังงานทั้งหมดในปี 2555
ความสำเร็จจากโครงการประหยัดพลังงานต่างๆของซีพีเอฟนั้น เกิดจากการมีส่วนร่วมและสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์พลังงาน แก่พนักงานทุกระดับตลอดจนการส่งเสริมการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนปรับปรุงการผลิตและการปฎิบัติงานเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและนำระบบบริหารจัดการพลังงานระดับสากลมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการการใช้พลังงาน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืนCC