ในปีนี้บริษัทจะเริ่มทยอยรับรู้รายได้จากโครงการดังกล่าว ประมาณ 120 -150 ล้านบาท หรือเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาทต่อไตรมาส และคาดว่าจะทยอยรับรู้รายได้เข้ามาเต็มที่ในปี 57 เฉลี่ยประมาณ 300-350 ล้านบาทต่อปี โดยโครงการดังกล่าวมีกำลังการผลิต รวมประมาณ 20,000 ตันต่อปี แบ่งเป็น CNG 65%, LPG 30% และ NGL 5%
ทั้งนี้ จากโครงการ PPP ที่จะเริ่มทยอยรับรู้รายได้เข้ามาในปีนี้ ส่งผลให้บริษัทฯ ประมาณการอัตราการเติบโตของรายได้ในปีนี้เพิ่มขึ้น 20-30% เมื่อเทียบกับปี 55 โดยจะแบ่งเป็นสัดส่วนรายได้ จากธุรกิจเทรดดิ้ง(ธุรกิจหลัก)ประมาณ 75% ขณะที่รายได้จากธุรกิจพลังงานจะอยู่ที่ 25% ซึ่งมาจาก การรับรู้รายได้จากโครงการ PPP ที่จ.สุโขทัย ประมาณ 120-150 ล้านบาท และรายได้จากโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพอัดความดันสูง(Compressed Bio-Methane Gas หรือ CBG) ประมาณ 60 ล้านบาท
นอกจากนี้ นายกิตติ กล่าวถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนว่า ยังคงมีอัตราการขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งภาครัฐบาลให้การสนับสนุนในเรื่องของพลังงานทดแทน หลังจากที่เล็งเห็นว่าความต้องการใช้ด้านพลังงานทดแทนมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเพราะต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เมื่อเทียบกับราคาพลังงานจากปิโตรเลียมในปัจจุบัน
และจากปัจจัยดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วหันมาให้พลังงานทดแทนมากขึ้น จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นการขยายตลาดในอุตสาหกรรมดังกล่าว และจากแผนการขยายไปยังธุรกิจพลังงาน อาทิ โครงการ CBG , โครงการ PPP หรือแม้แต่โครงร่วมทุน บางจากไบโอฟูเอล จำกัด (BBF) และ UAC Hydrotek ก็เพื่อเป้าหมายการขยายธุรกิจไปยังอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และกิจการสาธารณูปโภค ตามนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน