ในปี 56 นี้ การบินไทยจะใช้เงินลงทุน 5 หมื่นล้านบาท แหล่งเงินจะมาจากการออกหุ้นกู้อย่างน้อย 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะออกงวดแรกวงเงิน 5 พันล้านบาท อายุ 5 ปี เสนอขายให้กับนักลงทุนสถาบัน(PP)จะออกวันแรก (isuue date) ในวันที่ 16 พ.ค.56 คาดว่าจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยได้ใน 15 พ.ค.นี้ โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นที่ปรึกษาและผู้จัดการจัดจำหน่าย ส่วนที่เหลือจะนำมาจากผลกำไรจากการดำเนินงาน ขณะที่บริษัทมีแผนออกหุ้นกู้งวดต่อไปในช่วงกลางปีนี้อีกครั้ง หรือ ประมาณไตรมาส 2-ไตรมาส 3/56
และในช่วง 3 ปี (ปี 57-59) จะกำหนดวงเงินลงทุนปีละประมาณ 3 หมื่นล้านบาท แหล่งเงินทุนหลักมาจากผลการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งคาดว่าจะมีกำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อม และ ค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) เกินกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปี หากไม่เพียงพอก็จะออกหุ้นกู้ หรืออาจใช้เงินกู้จากสถาบันการเงิน
นายรัช กล่าวว่า อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ของบริษัทจะขยับขึ้นมาสูงสุดในปีนี้ แต่คาดว่าจะไม่เกิน 2.5 เท่า จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.3 เท่า แต่ในปี 57-59 คาดว่า D/E จะทยอยลดลง อยู่ประมาณ 2 เท่า ส่วนหนึ่งบริษัทมีการทยอยชำระหนี้ปีละประมาณ 2 หมื่นล้านบาท
ขณะเดียวกัน นายรัช ยืนยันว่า การบินไทยไม่มีแผนการเพิ่มทุน เพราะบริษัทยังมีความสามารถกู้เงินได้ โดยบริษัทเห็นว่าแนวโน้ม D/E ก็จะลดลงในปีถัดๆไปอยู่แล้วก็จะเพิ่มความสามารถการกู้ได้เพิ่มขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนซึ่งจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับกระทรวงการคลังที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท
"ปีนี้ หนักที่สุดเพราะเร่งการลงทุน D/E น่าจะขึ้นไปพีคสุด ปีนี้ D/E ไม่น่าเกิน 2.5 เท่า แต่ถ้ากำไรปีนี้เยอะตัวเลขนี้ก็ไม่ถึง แต่ในปีถัดๆไปงบลงทุนน้อยลง และคาดว่าผลประกอบการน่าจะ OK ก็จะทำให้ D/E ทยอยลดลงได้ประมาณ 2 เท่าใน 3 ปี...เพิ่มทุนไม่มีแน่เพราะคลังไม่เล่นด้วย " นายรัช กล่าว