แนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว ภาครัฐและบริษัทฯได้ทำการวิจัยและหาแนวทางในการบริหารจัดการปัญหาโรค EMS นี้มาโดยตลอด โดยปัจจุบันการวิจัยอยู่ระหว่างการทดลองซึ่งต้องรอผลอีกประมาณ 1-2 เดือน หากผลการทดลองนี้มีผลในทางที่ดี เชื่อว่าเกษตรกรจะกลับมาเลี้ยงกุ้งได้ตามปกติ
สำหรับภาวะผลผลิตเนื้อสัตว์ล้นตลาดในปีที่แล้วนั้น สถานการณ์เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นจากการที่ราคาไก่เนื้อและสุกรในประเทศไทยเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ แต่ต้นทุนยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าระดับเดียวกันของปีก่อน บริษัทคาดว่าราคาวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะปรับตัวอ่อนลงกว่าในครึ่งปีแรก และเชื่อว่าผลการดำเนินงานในครึ่งปีหลังนี้จะกลับมาเติบโตอย่างปกติ โดยบริษัทมั่นใจว่า จะสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 15%
ในช่วงไตรมาสที่ 1ปี 2556 บริษัท มี กำไรสุทธิ จำนวน 1,026ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4/55 ที่จำนวน 238ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 330 เชื่อว่า จะฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ผลกำไรของไตรมาส 1/56 ลดลง 70%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คำนวณโดยไม่นับรวมรายการพิเศษที่มีการบันทึกครั้งเดียวในไตรมาส 1/55) สาเหตุมาจากโรคกุ้งใหม่ EMS (Early Mortality Syndrome) มีผลกระทบต่อธุรกิจสัตว์น้ำอย่างมีนัยสำคัญ