อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาครั้งนี่สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาของธุรกิจจัดการกองทุนไทยได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรักษามาตรฐานการดำเนินงานไว้ได้ แต่ยังต้องมีเรื่องที่ต้องพัฒนาต่อไปอีกมาก โดย ก.ล.ต.มี 5 เรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ได้แก่ การเพิ่มทางเลือกการลงทุนในกองทุนรวมของนักลงทุนรายย่อยให้สามารถเลือกซื้อกองทุนระหว่างประเทศได้ โดยช่วงเริ่มแรกจะสามารถให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเลือกซื้อกองทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มได้ภายในปีนี้ ซึ่งภายในอีก 2 เดือนข้างหน้าจะมีการเซ็นสัญญา MOU กับประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์
นอกจากนี้ ก.ล.ต.จะส่งเสริมให้มีผู้แนะนำและให้คำปรึกษาในการบริการวางแผนทางการเงิน (asset allocation) ให้กับนักลงทุนในการเลือกซื้อกองทุนที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยอยู่ระหว่างการออกแบบหลักสูตรในการอบรมที่ปรึกษาการลงทุน และการปรับปรุงเกณฑ์ในบางเรื่องให้มีความเท่าเทียม อย่างเช่นการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนรวมให้ดีขึ้น และปรับค่าธรรมเนียมให้มีความเท่าเทียมกัน
อีกทั้งยังสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในระยะยาวเกิดขึ้น โดยอาจให้มีการออมในการลงทุนเดือนละ 1,000 บาท ต่อ 1 หน่วยการลงทุน ทำให้ประชาชนเกิดนิสัยการออมเพิ่มมากขึ้น และยังนำเสนอกิจกรรมต่างๆที่สร้างความรู้และกระตุ้นให้ประชาชนหันมาสนใจการลงทุนมากขึ้น
ด้านทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT :Real Estate Investment Trust) นายวรพลกล่าว ขณะนี้มีธนาคารที่แสดงความสนใจในการเป็น Trustee หรือผู้จัดการดูแลทรัพย์สิน ที่จะเข้ามาดูแลกองทุน REIT จำนวน 3 ราย และมีบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารอีก 1 ราย ยื่นเอกสารเข้ามาเพื่อเป็น Trustee ส่วนเรื่องการการลดหย่อนภาษีหรือการยกเว้นภาษีในการโอนจากกองทุนอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทุน REIT อยู่ระหว่างการเจรจากับกรมสรรพากร
นายวรพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางบมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น (TRUE) ได้มีความสนใจในการตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยได้มีทีมที่ปรึกษาทางการเงินของ TRUE มาขอคำปรึกษากับ ก.ล.ต.ในการดำเนินการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน
"ทางทรูก็มีความสนใจในการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ก็มีทีมที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัทเข้ามาขอคำปรึกษาในการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานกับเรา แต่รายละเอียดอื่นว่าจะเป็นยังไงต้องไปถามกับทางทรู"นายวรพล กล่าว