ประเทศมาเลเซีย และประทศในกลุ่มเออีซี(กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) ถือเป็นโอกาสที่สูงมากในการเปิดตลาดชาเขียวพร้อมดื่ม โดยโออิชิ ถือเป็นรายแรกที่เดินหน้าบุกตลาดอย่างมีกลยุทธ์ในตลาดภูมิภาค การรุกเข้าไปตลาดเออีซีถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของโออิชิในการผลักดันแบรนด์และขยายสู่ธุรกิจออกสู่ตลาด เพื่อเป้าหมายเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดเครื่องดื่มในภูมิภาคนนี้
โออิชิและเอฟแอนด์เอ็นได้เตรียมงบประมาณ 100 ล้านบาท สำหรับขยายกิจกรรมการตลาดและส่งเสริมการขาย ได้แก่ การแจกฟรีผลิตภัณฑ์ การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ ณ จุดขาย เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการทดลองดื่ม ตลอดจนการสร้างแบรนด์โออิชิให้เป็นที่รู้จักและจดจำมากยิ่งขึนในตลาดมาเลเซีย
ทั้งนี้ ช่องทางการจำหน่ายในมาเลเซีย ได้แก่ ร้าน 7-11 ที่มีสาขาอยู่ที่มาเลเซียจำนวน 1,460 สาขา
"โออิชิ เล็งเห็นโอกาสตลาดชาเขียวพร้อมดื่มในมาเลเซีย ซึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้ของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้บริโภค ชาวมาเลซียเห็นถึงคุณประโยชน์ต่อสุขภาพของชาเขียวและรสชาติที่ดีเยี่ยม โดยที่ผ่านมาได้รับผลตอบรับที่ดีต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เราเชื่อมั่นว่า ด้วยเครือข่ายการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุม และกลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพของเอฟแอนด์เอ็น จะช่วยผลักดันให้ชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และทำให้ก้าวเป็นหนึ่งในแบรนด์ชาเขียวพร้อมดื่มขั้นนำในตลาดมาเลเซียภายใน 3 ปีจากนี้"นายแมททิว กล่าว
นายแมทธิว กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้ายอดขายชาเชียวพร้อมดื่มโออิชิในประเทศมาเลเซียปีนี้ที่ 140 ล้านบาท จากการเน้นการทำการตลาดและสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภคผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ 7-11 ทั้ง 1,460 สาขา ซึ่งบริษัทได้เริ่มนำสินค้าเข้าไปวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 3 ม.ย. 56 กว่า 200 สาขาแล้ว และจะขยายไปให้ครอบคลุมสาขาทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ ประกอบกับการกระจายไปในสถานีบริการน้ำมันต่างๆ โดยตั้งเป้าหมายช่องทางการจัดจำหน่ายสิ้นปีอยู่ที่ 3,800 จุดจำหน่าย
บริษัทยังอยู่ระหว่างการศึกษาการนำชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิไปผลิตที่โรงงานของเอฟแอนด์เอ็น เบเวอเรจเจส ในมาเลเซีย ซึ่งต้องมีการพิจารณาความเหมาะสมของยอดขายและความนิยมชาเขียวในตลาด นอกจากนั้น ยังต้องได้รับเครื่องหมายฮาลาลก่อน ทั้งนี้ มองว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการกระจายสินค้าของโออิชิไปในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีกำลังผลิตชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิของโรงงานในไทย 60 ล้านขวด/เดือน
นายแมทธิว กล่าวว่า ภายในปีนี้บริษัทคาดว่าจะขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มทั้งในสิงคโปร์และบรูไน ขณะที่ส่วนสัดส่วนยอดขายชาเขียวในต่างประเทศปีนี้จะอยู่ที่ 3-4% หรือคิดเป็นมูลค่าราว 200-240 ล้านบาท จากเป้ายอดขายชาเขียวรวม 6,000 ล้านบาทในปี 56 หลังจากส่งชาเขียวไปจำหน่ายในลาวและกัมพูชาก่อนหน้านี้
และในปี 57 จะเพิ่มสัดส่วนยอดขายชาเขียวในต่างประเทศเป็น 7-10% หรือราว 600-700 ล้านบาท จากเป้ายอดขายชาเขียวรวม 7,000 ล้านบาท จากยอดขายที่มากตามการบุกตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นทั้งในพม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน
นายแมทธิว กล่าวว่า ผลประกอบการในไตรมาส 2/56 บริษัทคาดว่ายอดขายจะออกมาดีกว่ากว่าไตรมาส 1/56 และไตรมาส 2/55 เนื่องจากกำลังการผลิตของบริษัทกลับมาเป็นปกติ จากที่ก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 54 และบริษัทมั่นใจยอดขายอาหารและเครื่องดื่มในปีนี้จะเป็นตามเป้าหมาย 1.5 หมื่นล้านบาท