"เราคิดว่าสัดส่วนวิ่งไปที่ 60% ในปีหน้า และเรามาทบทวนดูว่า ตัวระบบ support เพื่อให้ระบบแฟรนไชส์เดินไปได้ ร้านเฟรนไชส์แต่ละปีของเรามี 300-400 แห่ง ปีนี้จะเพิ่มเข้าไปในส่วนลูกค้าเก่าให้ขยายร้านเพิ่มขึ้น" นางสาวอนิษฐา กล่าว
แม้ว่าตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกโตต่ำกว่าคาด แต่ CPALL ไม่ได้รับผลกระทบ และยังพบว่ามีคนเข้าสู่ธุรกิจเฟรนไชส์ต่อเนื่อง แต่ยอมรับว่าปัญหาขาดแคลนแรงงานในธุรกิจค้าปลีก ฉะนั้นต้องรักษาคนเดิมไว้ให้ดี
จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าส่วนใหญ่เจ้าของกิจการเฟรนไชส์ เซเว่น อีเลฟเว่นเป็นเพศหญิง คิดเป็น 63% ส่วนผู้ชาย 37% ในส่วนของอาชีพเดิมพบว่าเคยเป็นพนักงานบริษัทมาก่อนเป็นส่วนใหญ่ หรือคิดเป็น 37% นอกจากนี้ยังมีจำนวนเจ้าของกิจการเฟรนไชส์ที่บริหารร้านมากกว่า 1 สาขา จำนวน 400 ราย และบริหารร้านมากกว่า 10 ปี จำนวนกว่า 100 ราย แสดงให้เห็นว่าเจ้าของเฟรนไชส์เซเว่น อีเลฟเว่น ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่
จุดแข็งของเฟรนไชส์เซเว่น อีเลฟเว่น จากที่มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี มีความเชี่ยวชาญวางระบบเฟรนไชส์ มีความแข็งแกร่งในการบริหารจัดการ รวมถึงการฝึกอบรมและให้คำปรึกษากับเจ้าของร้านเฟรนไชส์ นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ก็ยังสนับสนุนให้เงินกู้กับร้านเฟรนไชส์ การให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยที่ผ่านมามีผู้มารับเฟรนไชส์ในต่างจังหวัดเพิ่มมากขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยแต่ละปีมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 3% และมีผู้ให้ความสนใจ 250-300 รายต่อเดือน
ด้านนางสาวสมจิตร ลิขิตสถาพร นายกสมาคมเฟรนไชส์ไทย กล่าวว่า ทิศทางของธุรกิจเฟรนไชส์ในครึ่งหลังปี 56 ยังมีแนวโน้มสดใส และคาดว่ามีอัตราเติบโตประมาณ 25% จากปัจจยต่างๆ ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งดีขึ้นกว่าเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา, การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการโดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนบุคคลากร ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของธุรกิจในปัจจุบัน ทำให้การขยายธุรกิจในรูปแบบร้านสาขาอาจมีอุปสรรค ฉะนั้น ระบบแฟรนไชส์จะเป็นทางออกอีกวิธีหนึ่ง
นอกจากนี้ คนรุ่นใหม่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการมากขึ้น จึงพัฒนาตัวเองเข้าสู่ระบบเฟรนไชส์ และการได้รับสนับสนุนต่อเนื่อง ทั้งจากภาครัฐ เอกชน สถาบันการเงิน
"คนที่มาลงทุมีความฉลาดมากขึ้น จะมีการคัดเลือกธุรกิจที่เป็นไปได้ดี คนจะมองแบรนด์ที่แข็งแรง เช่น 7-11 หรือ พิซซ่าคัมปะนี ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอาหาร"นางสาวสมจิตร กล่าว