และเห็นชอบให้ใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายประเภทที่ใข้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ให้แก่ ช่อง 5 ช่อง9 ช่อง 11 และ ไทยพีบีเอส ในระยะเวลา 15 ปี นับแต่วันที่ กสทช. มีมติ ทั้งนี้ จะเสียค่าธรรมเนียม 2% ต่อปีและนำเงินเข้า กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) 2%
พ.อ.นที กล่าวว่า ทั้ง 4 ช่องดังกล่าว จะสามารถออกอากาศแบบคู่ขนาน ทั้งระบบอนาล็อกและ ระบบดิจิตอล แต่ไทยพีบีเอสได้นำเสนอแผนว่าจะอยู่ในระบบอนาล็อกเพียง 3 ปี โดยช่อง 5 ช่อง 11 และไทยพีบีเอสจะเสนอแผนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล ซึ่งทั้ง 3 ช่องจะได้ช่องสาธารณะ ส่วนช่อง 9 จะต้องเข้าประมูลช่องธุรกิจ เพราะเป็นรัฐวิสาหกิจที่แสวงกำไร
ขณะที่สถานีไทยทีวีสีช่อง 3 หรือบมจ.บีอีซีเวิลด์ (BEC) และสถานีโทรทัศน์ ช่อง 7 นั้น ดำเนินการภายใต้สัญญาสัมปทานที่ยังเหลือระยะเวลา 8-10 ปี กสทช.จะให้ใบอนุญาตในการออกอากาศตามอายุสัญญาสัปทานที่เหลืออยู่
ทั้งนี้ จะเร่งดำเนินการออกเกณฑ์ให้ใบอนุญาตการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบยดิจิตอล เพื่อให้มีผู้ได้รับใบอนุญาตอีก 2 ราย ครบจำนวน 6 ราย ซึ่ง 2 รายอาจเป็นเอกชนก็ได้
ขณะเดียวกันก็จะให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตการให้บริการโครงข่ายฯ เสนอราคาเช่าโครงข่ายเข้ามาที่กสทช. ก่อนที่จะมีการเปิดประมูลช่องทีวีดิจิตอล จะได้เกิดความมั่นใจว่ามีต้นทุนที่เข้าประมูล และจะกำหนดราคาประมูลอย่างไร ทั้งนี้ กสทช.ยังคงกำหนดแผนเดิม ที่จะเปิดประมูลช่องทีวีดิจิตอลในเดือน ก.ย.นี้