"การควบรวมกิจการจะส่งผลให้ มีต้นทุนในการดำเนินงาน ที่ปรับตัวลดลลง และสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันทั้งสองบริษัท สามารถเกื้อหนุนกันให้เติบได้อย่างต่อเนื่อง"นายกิตติ กล่าว
ขณะที่สัดส่วนหนี้สินต่อทุน(D/E)ของ UAC หลังจากที่มีการควบรวมกิจการก็คาดว่าจะลดลงมาที่ 0.2 เท่า จากปัจจุบันอยู่ที่ 0.4 เท่า แต่ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น(ROE)จะปรับตัวสูงขึ้น จากไตรมาส 1 /56 อยู่ที่ 17.51% เนื่องจากมีส่วนของผู้ถือหุ้นมากขึ้นหลังจากควบรวมกิจการกับ HYDRO เนื่องจากจะมีการออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อแลกหุ้น แต่อย่างไรก็ดี บริษัทตั้งเป้าจะรักษาระดับให้อยู่ที่ราว 20%
ทั้งนี้ หลังจากประกาศการควบรวมกิจการระหว่าง UAC และ HYDRO จะมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 2 ส.ค.56 เพื่อทำการชี้แจงข้อมูลต่างๆ และคาดว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์(เทนเดอร์ออฟเฟอร์)หุ้นทั้งหมดของ HYDRO ประมาณช่วงกลางเดือน ต.ค.-พ.ย.56 จากนั้นจะมีการปรับโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทใหม่ โดยจะมีกรรมการจาก HYDRO เข้าไปนั่งเป็นกรรมการใน UAC และกรรมการใน UAC ก็จะไปนั่งเป็นกรรมการใน HYDRO
นายกิตติ กล่าวว่า การควบรวมกิจการครั้งนี้เป็นการเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจและขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้สภาวะธุรกิจที่มีการเปิดกว้าง และการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ทั้งจากผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ เมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ในขณะเดียวกัน หลังจากมีการควบรวมกิจการจะส่งผลให้รายได้ของบริษัทมีการปรับเปลี่ยนไป โดยธุรกิจเทรดดิ้งจะมีสัดส่วนรายได้ราว 30% ธุรกิจรับก่อสร้าง(EPC)สัดส่วน 25% ธุรกิจจัดการระบบและบำรุงรักษา(O&M) 15% และธุรกิจพลังงาน 30% ทั้งนี้ ธุรกิจ O&M จะมีอัตรากำไร(มาร์จิ้น)ดีที่สุด รองลงมาคือกลุ่มพลังงาน และกลุ่มเทรดดิ้ง ส่วน EPC รายได้จะไม่มีความแน่นอน
นอกจากนี้ บริษัทฯอยู่ระหว่างพิจารณานำ UAC ย้ายเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ SET จากปัจจุบันซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ(MAI) ซึ่งการเข้าไปทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ SET จะทำให้มีนักลงทุนสถาบันเข้ามาสนใจมากขึ้น และสร้างความเชื่อถือในการรับงานมากขึ้น การซื้อขายหุ้นจะมีเสถียรภาพมากขึ้น หลังจากควบรวมกิจการจะมีขนาดของบริษัทเข้าเกณฑ์ที่จะสามารถทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ SET ได้
“เรามีการพิจารณานำ UAC ย้ายเข้า SET โดยขนาดหลังมีการควบรวมกิจการ จะมีขนาดของทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 3 พันล้านบาท ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องใช้เวลาซักระยะหนึ่งในการที่จะขยายขนาดของธุรกิจให้มีการเติบโตมากกว่านี้ การเข้า SET เป็นสิ่งที่ดีทำให้นักลงทุนสถาบันมีความสนใจมากขึ้น เวลาจะมีการตกลงงานในต่างประเทศจะทำให้มีความเชื่อถือมากขึ้น และหุ้นก็นิ่งขึ้นด้วย"นายกิตติ กล่าว
และ หลังจากมีการควบรวมกิจการ บริษัทฯตั้งเป้าหมายที่จะเข้าไปลงทุนโรงไฟฟ้าจากขยะ ซึ่งเป็นโครงการในอนาคต
ด้าน นายสลิบ สูงสว่าง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไฮโดรเท็ค (HYDRO)กล่าวเสริมว่า หลังจากการควบรวมกิจการเสร็จสิ้น UAC และ HYDRO จะเป็นการเสริมสร้างจุดเข็งซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถแข่งขันกับคู่แข่งในต่างประเทศ และสร้างพื้นฐานที่เข็งแกร่งให้เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า UAC ควบรวมกับ HYDRO แล้ว หุ้นของ HYDRO ก็จะยังมีการซื้อขายในตลาด MAI เป็นปกติ เนื่องจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือในการติดต่องานกับต่างประเทศ สามารถเสนองานได้ทันที ขณะที่การบริหารงานร่วมกันกับ UAC จะทำให้เกิดประโยชน์กับบริษัทอย่างเต็มที่ เพื่อทำให้มีธุรกิจสาธารณูปโภคครบวงจร และช่วยให้ต้นทุนในโครงการต่างๆ ลดลง ทำให้มาร์จิ้นของบริษัทดีขึ้น มีผลตอบแทนที่เห็นได้อย่างชัดเจน และทดแทนในธุรกิจที่ UAC ไม่มี