ทั้งนี้ เอไอเอส มองว่าทิศทางตลาดและความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน มีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนเครือข่ายไร้สายเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับทิศทางของอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมที่ก้าวเข้าสู่โมบายอินเทอร์เน็ต เป็นการรวมการสื่อสารในทุกรูปแบบมาไว้บนมือถือหรือบนสมาร์ทโฟน ดังจะเห็นได้จากอัตราการเติบโตของจำนวนผู้ใช้บริการด้านข้อมูล(DATA)จำนวน 12.7 ล้านเลขหมาย (สิ้นสุดไตรมาส 1/56)เพิ่มจาก 12.2 ล้านเลขหมาย เมื่อสิ้นปี 55 หรือเพิ่มขึ้น 4% จากลูกค้าเอไอเอสในระบบ GSM ทั้งหมด 37 ล้านเลขหมาย
"การเปิดให้บริการ 4G และเครือข่ายบรอดแบนด์ความเร็วสูงมีสาย ถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจก้าวต่อไปของเอไอเอส"นายวิเชียร กล่าว
ในส่วนการเตรียมความพร้อมในการเปิดให้บริการเครือข่ายบรอดแบนด์ความเร็วสูงมีสาย หรือ Wired Broadband โดยขณะนี้มีการสร้าง transmission เสร็จเรียบร้อยแล้ว จากในวงเงินลงทุนทั้งหมดที่ใช้ในการขยายโครงข่าย 3G บนคลื่น 2.1 GHz รวมถึงด้านการตลาด จำนวน 70,000 ล้านบาท ซึ่ง Wired Broadband จะเป็นในลักษณะของ FIBER TO BESE STATION หรือ (FTTB) ที่จะต่อจากสถานีฐานสู่บ้าน ทั้งนี้จะดำเนินการเมื่อไรนั้นมองว่าเป็นเรื่องของโอกาส ถ้ามีความพร้อมก็สามารถทำได้เลย โดยปัจจุบันมีการเดินสายแล้วให้กับ นิคมอุตสาหกรรม และตึกอาคารเป็นบางส่วน ซึ่งยังเหลือตามบ้านของผู้บริโภครายย่อย
ทั้งนี้จากสัญญาสัมปทานของเอไอเอสที่ทำไว้กับบมจ.ทีโอที ที่จะสิ้นสุดสัญญาในปี 58 ที่บริษัทต้องส่งมอบอุปกรณ์ให้กับทีโอทีนั้น มองว่าหากเป็นสร้างอุปกรณ์โครงข่ายภายใต้สัญญาที่ทำกับทีโอที ทางบริษัทจะส่งมอบคืนให้ทันทีหลังสิ้นสุดสัญญา
"ตั้งแต่มีการแต่ตั้ง กสทช.ขึ้นเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ทาง กสทช.ก็ให้มีการออกใบอนุญาตต่างๆ ซึ่ง transmission บางอันเราไม่ได้ทำภายใต้สัญญาสัมปทาน การสร้าง transmission จึงไม่ได้อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทาน โดยปัจจุบันเรามี transmission อยู่ 10,000 กิโลเมตร ที่ยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ"นายวิเชียรกล่าว