ได้มีความเห็นเป็น “บวก" กับข่าวนี้ ซึ่งจากเนื้อข่าวทำให้อนุมานได้ว่าโครงการนี้จะเป็นในลักษณะของสัญญา O&M กล่าวคือ BTS จะจัดหาและรับจ้างเดินรถคล้ายกับการให้บริการบนเส้นทางส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-แบริ่ง ในกรุงเทพ ซึ่ง BTS จะมีรายได้เป็นรายที่แน่นอนจากค่าจ้างเดินรถ ขณะที่เจ้าของสัมปทานจะเป็นผู้รับรายได้ค่าตั๋วโดยสาร (ต.ย. เช่น กทม. สำหรับเส้นทางส่วนต่อขยาย ส่วนในจากาตาร์ก็จะเป็น PT Jakarta Monorail)
ซึ่งสัญญาลักษณะนี้ BTS จะไม่มีความเสี่ยงในเรื่องจำนวนผู้โดยสาร ซึ่งโมเดลลักษณะนี้เรามองว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อ BTS ขณะที่ BTS มีเงินสดในมือแข็งแกร่งถึง 3.6 หมื่นล้านบาท ทำให้เงินลงทุน 800 ล้านเหรียญนี้ โดยประเมินว่า BTS จะต้องใส่เงินลงทุนเข้าไปเพียง 6-7 พันล้านบาท (ที่เหลือเป็นเงินกู้ 3 ส่วน) ไม่น่ามีปัญหา โดยจะปรับประมาณการเมื่อได้รับข้อมูลอย่างเป็นทางการที่มากกว่านี้
จากการสืบค้นข้อมูล พบว่า โครงการรถไฟฟ้าแห่งนี้ ได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2547 และได้หยุดลงเนื่องจากปัญหาทางการเงินและข้อขัดแย้งทางกฎหมายในปี 2551 อย่างไรก็ดีด้วยความต้องการแก้ปัญหาจราจร และความต้องการระบบขนส่งมวลชน ทำให้โครงการนี้ได้ถูกหยิบขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันโครงการนี้มีแผนกลับมาก่อสร้างในปี 2556 ภายใต้การดูแลของ PT Jakarta Monorail ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน
พร้อมแนะ “ซื้อ"หุ้น BTS แม้จะยังไม่มีข้อมูลของโครงการนี้มากนัก แต่เพียงเงินปันผลตามนโยบายล่าสุด 6-7-8 พันล้านบาทใน 3 ปีนี้ ก็สามารถให้ Dividend Yield สูงกว่า 7% ต่อปี และคาดจะเห็นงวดแรก หลังการประกาศงบการเงิน 1H56/57 นี้ในราวเดือน พ.ย. เราจึงยังคงมุมมอง BTS เป็นหุ้นสำหรับการลงทุนระยะยาว ให้ราคาเหมาะสม 12.30 บาท/ หุ้น (มูลค่าจากการดำเนินงานหลัก 10.30 บาท/ หุ้น รวมกับ โอกาสในการ unlock มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ในมืออีก 2.00 บาท/ หุ้น)
วานนี้(8 ก.ค.)หุ้น BTS ปิดที่ 7.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.05 บาท(+0.65%)