"การเร่งตัวของหนี้ภาคครัวเรือนส่วนใหญ่มาจาการการเติบโตของสินเชื่อรถยนต์ และหากลงไปดูสัดส่วนหนี้ภาคครัวเรือนทั้งระบบ 70-80% เป็นการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินทุกประเภท แต่หากนับแค่ธนาคารพาณิชย์ จะมีสัดส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนเพียงแค่ 40% ขณะที่หลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อจะมีความรัดกุมมาก เพราะจะปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มผู้มีรายได้เดือนละ 15,000-20,000 บาท"นายยุทธชัย กล่าว
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ มองว่าอยู่ในช่วงปรับฐาน เนื่องจากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกเริ่มปรับลดลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐที่เริ่มดีขึ้นจนกล้าที่จะยอมชะลอมาตรการ QE รวมถึงเศรษฐกิจในยุโรปที่แม้จะยังไม่ดีขึ้นแต่ความเสี่ยงก็ลดลงจากเมื่อ 4 ปีก่อน เช่นเดียวกับเศรษฐกิจจีนที่ทางการออกมาประกาศยังว่าจะเติบโตได้ 6-7% โดยจะไม่เติบโตร้อนแรงเหมือนที่ผ่านมาที่เติบโตในระดับ 8-10%
ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในวันพรุ่งนี้ คาดว่า. กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% มองว่าอัตราดอกเบี้ยอย่างเดียวคงไม่ได้เป็นตัวกำหนดการกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่ามาตรการทางการคลัง รวมถึงมองว่า กนง.คงจะกังวลในเรื่องของหนี้สินภาคครัวเรือนที่อาจจะเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันยังมีการลงทุนจากโครงการของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องเร่งระดมเงินฝาก เพื่อมาปล่อยสินเชื่อในโครงการของภาครัฐ ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงยังไม่ใช่ขาขึ้น
ล่าสุด ธนาคารยูโอบีเปิดตัวแคมเปญบัตรเครดิต UOB Lady's Card โดยนำผู้ผลิตสินค้ามาเข้าร่วมเป็นพันธมิตร เช่น เครื่องสำอาง สถาบันความงาม และสถามบันดูแลสุขภาพ เนื่องจากมองว่ากลุ่มผู้หญิงมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครึ่งปีแรกยอดจำนวนบัตรเครดิต Lady ของธนาคารเติบโต 150,000 บัตรเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ตั้งเป้าหมายไว้ในช่วง 2 ปีที่ผ่าน 80,000 บัตร จึงคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีจำนวนบัตรเพิ่มขึ้น 20% หรือ 180,000 บัตร ส่วนภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อ คาดว่าปีนี้จะเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ 15%