ในส่วนแหล่งมอนทารา ได้เริ่มดำเนินการล่าช้ากว่าแผนมากจากที่กำหนดไว้ในเดือน ก.พ. 56 มาเริ่มผลิตในกลางเดือนก.ค.56 รวมทั้งยังมีการตัดค่าเสื่อมราคาอีกมากจาการที่มีค่าใช้จ่ายการลงทุน ที่จะตัดมากสุดในช่วง 1-2 ปีแรก โดยปริมาณสำรองของแหล่งมอนทาราอยู่ที่ประมาณ 30-32 ล้านบาร์เรล/วัน ดังนั้น คาดว่าผลดำเนินการของแหล่งมอนทาราในปีนี้อาจไม่มีกำไร แต่ปีหน้าคาดว่าจะเห็นกำไรแน่ชัดเพราะเพิ่มกำลังการผลิตเต็มที่ 3 หมื่นบาร์เรล/วัน
นอกจากนี้จะมีก๊าซธรรมชาติจากแหล่งซอติก้า หรือแหล่ง M9 ในพม่า เริ่มผลิต เม.ย.57 กำลังผลิต 300 ล้านลบ.ฟุต/วันโดยขายเข้าไทย 240 ล้านลบ.ฟุต/วัน และขายกลับไปที่พม่า จำนวน 60 ล้านลบ.ฟุต/วัน
ส่วนแหล่ง Oil Sand ในแคนาดา (PTTEP ถือ 40%) ได้มีการทยอยดำเนินการไปทีละเฟส เพราะพิจารณาการลงทุนให้คุ้มทุน โดยตั้งแต่เข้าดำเนินการมาเข้าปีที่ 3 ในปีนี้ แหล่งนี้ได้มีผลขาดทุนสะสมแล้ว 100 ล้านเหรียญ แต่ในปีนี้ จากราคาน้ำมันเวสเท็กซัส(WTI) ที่ปรับตัวสูงขึ้นเหนือ 100 เหรียญ/บาร์เรล และมาร์จิ้นถูกตัดน้อยลงจาก 40 เหรียญ/บาร์เรล มาอยู่ประมาณ 18-20 เหรียญ/บาร์เรล มำให้ผลตอบแทน(Return)ดีขึ้น ทำให้ net cash เริ่มเป็นบวกก็คาดว่าในปีหน้าแหล่ง Oil Sand น่าจะถึงจุดคุ้มทุน จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีผลขาดทุนลดลงจากปีก่อน
นอกจากนี้ ในปี 59-60 แหล่ง Oil Sand จะมีการลงทุนเพิ่มในแหล่ง เลสเมอร์ ส่วนขยาย ซึ่งจะผลิตได้ 2 หมื่นบาร์เรล/วัน จากปัจจุบันผลิตได้ 1.8 หมื่นบาร์เรล/วันจากแหล่งเลสเมอร์ ทำให้กำลังการผลิตขึ้นมาเท่าตัว และในปี 61 คาดว่าจะมีกำลังการผลิตเพิ่มจากแหล่งคอร์เนอร์ที่มีกำลังการผลิต 4 หมื่นบาร์เรล/วัน ทั้งนี้ จะใช้เงินลงทุนทั้ง 2 แหล่งรวมประมาณ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
นายอัษฎากร กล่าวว่า PTTEP ยังสนใจเข้าร่วมการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ของกระทรวงพลังงาน ซึ้งอยู่บริเวณภาคอีสาน โดยที่ผ่านมาได้เลื่อนการประมูลเพราะยังมีปัญหากับชาวบ้านในบริเวณแหล่งที่เปิดประมูล อย่างไรก็ตาม การเปิดประมูลรอบใหม่นี้ แหล่งก็ไม่ได้ใหญ่มาก แต่ถ้าภาครัฐไม่ขอส่วนแบ่งรายได้มากก็จะทำให้ผลตอบแทนของโครงการน่าสนใจ โดยที่ผ่านมาภาครัฐขอส่วนแบ่งรายได้ 40-57%