อนึ่ง บริษัททั้ง 4 แห่ง คือ บริษัท ทีเอฟไอ พาวเวอร์ (โคราช1), บริษัท ทีเอฟไอ พาวเวอร์(โคราช2), บริษัท ทีเอฟไอ พาวเวอร์ (โคราช3) และ บริษัท ทีเอฟไอ พาวเวอร์ (โคราช4)
นายสมชัย กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทยังอยู่ในช่วงเตรียมการเบื้องต้นจึงยังไม่ได้มีการจัดเตรียมที่ดิน เพียงแต่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่กำหนดให้การจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในต่างจังหวัดจะต้องมีขนาดไม่เกินโครงการละ 10 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทฯมีเป้าหมายที่จะผลิตไฟฟ้าให้ได้มากกว่านั้น จึงอาจจัดตั้งหลายโครงการ
"ขณะนี้ยังไม่สรุปว่าจะมีขนาดการผลิตไฟฟ้ามากแค่ไหน บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาว่าการผลิตที่ขนาดใดถึงจะมีความคุ้มค่า และขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่จะใช้ในการผลิตด้วย"นายสมชัย กล่าว
สำหรับสาเหตุที่บริษัทริเริ่มการลงทุนในครั้งนี้ เนื่องจากมองแนวทางที่จะสร้าความมั่นคงให้กับผลประกอบการ ซึ่งจะต้องเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและสามารถคำนวณผลตอบแทนได้ว่าจะมีผลกำไรเข้ามามากน้อยเพียงใดและเมื่อใด เพื่อช่วยเสริมศักยภาพในการสร้างรายได้และกำไรของบริษัทฯ ที่ปัจจุบันเผชิญความผันผวนไปของราคาไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ไม่มีความแน่นอน
“เราตั้งบริษัทย่อยถึง 4 บริษัท เพราะตามกฏที่ กฟผ.มีไว้คือไปตั้งโรงไฟฟ้าต่างจังหวัดจะผลิตได้ไม่เกินโครงการละ 10 MW ซึ่งเราตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะต้องผลิตได้มากกว่านั้น แต่ตอนนี้ก็เป็นแค่การเริ่มต้นศึกษา ยังไม่ได้มีการซื้อพื้นที่อะไรทั้งนั้น แต่เราจะได้ข้อสรุปในเวลาไม่เกิน 6 เดือนนี้ เราก็คาดว่าจะมาเป็น กำไรให"นายสมชัย กล่าว
นายสมชัย กล่าวถึงผลประกอบการในไตรมาส 2/56 คาดว่าจะไม่แตกต่างจากไตรมาส 1/56 ที่มีผลขาดทุนประมาณ 66 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯประสบปัญหาราคาของวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น แต่ไม่สามารถปรับราคาสินค้าตามได้ เพราะการแข่งขันในตลาดค่อนข้างสูงจากผลกระทบสินค้าต่างประเทศที่เข้ามาตีตลาดเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในครึ่งปีหลังของปีผลประกอบการของบริษัทฯจะปรับตัวดีขึ้น เพราะเป็นช่วงที่ดีของอุตสาหกรรมพลาสติก ประกอบกับ ก่อนหน้านี้บริษัทฯได้กู้ยืมเงินจากบริษัท พีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด จำนวน 100 ล้านบาท เพื่อมาปรับปรุงระบบ เครื่องจักร ต่างๆ ที่จะแล้วเสร็จในปลายไตรมาส 2/56 ถึงไตรมาส 3/56 ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนด้านพลังงานได้ด้วย