“ถือว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นอย่างมากจนมาอยู่ที่ระดับ 28 บาท/ดอลลาร์ในช่วงต้นไตรมาส 2/56 ทำให้ยอดขายลดลงอย่างชัดเจน เพราะลูกค้าหันมานำเข้า Billet แทนการซื้อในประเทศ แต่หลังจากที่ค่าเงินบาทเริ่มปรับตัวอ่อนค่าลงลงมาแตะที่ระดับ 31 บาท/ดอลลาร์ ก็ทำให้ยอดขายเรากลับมาอีกครั้ง ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จึงมั่นใจว่าในไตรมาส 3/56 บริษัทฯ จะกลับมาทำผลงานได้ดีอีกครั้ง เพราะความต้องการใช้เหล็กยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้บริษัทฯ ยังตั้งเป้าหมายปริมาณการขายไว้ที่ 250,000- 300,000 ตัน" นายอนาวิล กล่าว
ทั้งนี้ CHOW ชี้แจงผลประกอบการไตรมาส 2/56 ที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและส่งผลต่อเนื่องให้ผลประกอบการในงวด 6 เดือนลดลงไปในทิศทางเดียวกันว่า เป็นผลมาจากการแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากของค่าเงินบาท โดยในไตรมาส 2/56 บริษัทฯมีรายได้จากการขายและการให้บริการรวม 961.63 บาท ลดลงจากปีก่อนที่ทำได้ 1,285.04 ล้านบาท ส่งผลให้ในงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2556 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายและการให้บริการรวม 1975.55 ลบ. ลดลงร้อยละ 29 จากปีก่อนที่ทำได้ 2,785.85 ล้านบาท
ขณะที่ทิศทางการปรับตัวของราคาเศษเหล็กกับราคาขายเหล็กแท่ง (Billet) เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน ทำให้บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นเพียงร้อยละ 4.9 ซึ่งต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรขั้นต้นร้อยละ 6.0 ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิที่เป็นกำไรส่วนใหญ่จำนวน 19.32 ล้านบาท ลดลงจำนวน 46.96 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 55 ที่มีกำไรสุทธิ 66.28 ล้านบาท