"เราทำเต็มที่เราหวังว่าปลายปีนี้มีกำไรจากการดำเนินงาน 4 พันล้านบาทจากที่ตั้งไว้ 6 พันล้านบาท รายได้อาจจะปรับ ไตรมาส4 จะหารายได้ให้เต็มที่ เราจะไปลดเส้นทางที่ไม่ทำกำไร ในเส้นทางยุโรป และจะเน้นเส้นทางที่มีกำไรดันมาร์จิ้น ในเส้นทางจีน ญี่ปุ่น "นายสรจักร กล่าว
ในปีนี้ บริษัทมีจำนวนที่นั่งเพิ่มขึ้นจากการรับมอบเครื่องบินใหม่ 17 ลำ ซึ่งเป็นปีที่รับมอบเครื่องบินมากที่สุด โดยครึ่งปีแรกรับมอบแล้ว 8 ลำ และจะรับมอบ 9 ลำ โดยจะเครื่องบินแอร์บัสเอ 380 อีก 2ลำในไตรมาส 4/56
สำหรับในไตรมาส 2/56 บริษัท มีผลขาดทุน 8,439 ล้านบาท หรือคิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 3.87 บาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุน 1,526 ล้านบาท หรือ ขาดทุนต่อหุ้น 0.70บาท เนื่องจากบริษัทมีค่าใช้จ่ายสูงทำให้ในไตรมาส 2 นี้ ขาดทุนจากการดำเนินงาน 2,899 ล้านบาท ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 4,202 ล้านบาท รวมทั้งบันทึกขาดทุนด้อยค่าเครื่องบิน 1,332 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากเครื่องบินของบริษัท 7 ลำไม่ได้ใช้งาน คือ เครื่องบินแอร์บัส เอ340-500 จำนวน 4 ลำ เครื่องบินแอร์บัส เอ300-600 จำนวน 3 ลำ
ขณะที่ในครึ่งปีแรกมีผลขาดทุน 156 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 0.07 ล้านบาท เทียบกับครึ่งปีแรกในปีก่อนมีกำไรสุทธิ 2,118 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 1.69 ล้านบาท แม้ว่า มีรายได้ 1.01 แสนล้านบาท แต่มีรายจ่าย 1 แสนล้านบาท จากที่มีปริมาณที่นั่งเพิ่มขึ้น 8.3%
นายสรจักร กล่าวยอมรับ ค่าใช้จ่ายมีสัดส่วน 95-96% ของรายได้ ทำให้อัตรากำไรต่ำเพียง 1.5-2.0%
นอกจากนี้ ในช่วง 3 ปีนี้ (56-58) การบินไทย จะลำบากมากที่สุด และมีหนี้สิน โดยปีนี้มีหนี้ 1.8 แสนล้านบาท เนื่องจากการรับมอบเครื่องบินใน 3 ปีนี้ จำนวน 39 ลำ โดยปีนี้รับมอบ 17 ลำ ปี 57 รับ 14 ลำ และปี 58 จำนวน 8 ลำ จากปัจจุบัน มีเครื่องบินที่ใช้งานอยู่ 95 ลำ และมีเครื่องบินจอดอยู่โดยไม่ได้ใช้งาน 16 ลำ