"เราเน้นขายแบบ Whole sale มากกว่า Retail ที่ทำผ่านบริการ My ซึ่เงราไม่ได้หวังมากนัก ที่เรามีเพราะเราต้องการให้บริษัทเป็นโทรคมนาคมแบบครบวงจร เราเน้นการขายบันเดิลให้กับองค์กรต่างๆและภาครัฐ ซึ่งเรามีคุณภาพและความสามาถดีกว่า การขายแบบ Retail ปัจจุบันคู่แข่งทั้ง 3 รายมำแล้วดีกว่าเราค่อนข่างมาก เราจึงไม่เน้นมาก"นางสาวธันวดี กล่าว
ทั้งนี้ โครงการ HSPA เป็นหนึ่งในโครงการที่จะมาทดแทนสัมปทานที่หมดลง คาดว่ามีกำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ย(EBIT) ประมาณ 7,000 ล้านบาท แต่ยังไม่สามารถทดแทนสัมปทานเดิมที่เคยได้หลักหมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งทางกสท.ได้มองหาธุรกิจอื่นๆ อย่างเช่น Datacom Internet Broadband และ Application content ต่างๆ เพื่อมาชดเชยรายได้สัมปทานจากเดิม
โครงการ HSPA ปัจจุบันอยู่ระหว่างการการเสนอโครงการให้กับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้กระทรวงนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) งบประมาณ 14,000-15,000 ล้านบาท คาดว่าภายในเดือนกันยายนนี้จะนำเรื่องเข้าพิจารณาครม.ได้
นอกจากนี้ ยังมีโครงการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (FTTX) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะนำมาชดเชยรายได้จากสัมปาน เนื่องจากกสท.มองว่าบรอดแบรนด์มีการเติบโต และเทคโนโลยีใหม่คาดว่าจะสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งโครงการ FTTX อยู่ระหว่างการรอนำเสอนต่อครม. มูลค่าโครงการ 4,500 ล้านบาท
"ถ้าเราไม่ได้ทั้ง HSPA และ FTTX 2 ตัวนี้ เรามองว่าอาจจะนำทรัพย์สินสัมปทานที่มีอยู่เอาออกมาหารายได้ โดยการให้เช่า โดยแตกออกเป็นหลายส่วน อย่างเช่น เสาเราจะนำบางส่วนที่โอนแล้วและไม่อยู่ในข้อพิพาทมาหารายได้ ซึ่งมีเสาที่โอนมาแล้วกว่า 2,000 ต้น นำมาให้เช่า และส่วนโครงข่ายที่เรามีหลายพันเส้นทาง อย่างเช่น Fiber Optic เอาออกมาให้ผู้ให้บริการทั้งผู้ให้บริการ 3G 2.1 GHz. และลูกค้ารายอื่นที่มีคลื่นความถี่ใกล้เคียงกันและต้องการใช้"นางสาวธันวดี กล่าว
สำหรับการโอนย้ายลูกค้าคลื่นความถี่ 1800 MHz หลังสิ้นสุดระยะเวลาสัมปานในวันที่ 15 ก.ย. 56 ขณะนี้ได้มีการเจรจากับคู่สัญญาสัมปทานเดินตามแผนเยียวยาที่ทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้วางแนวทางไว้ ซึ่งกสท.ได้แจ้งให้ผู้ให้บริการในสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่กำลังสิ้นสุดสัมปทาน ได้แก่ บริษัท ทรู มูฟ จำกัด (Truemove) และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด (DPC) แจ้งลูกค้าให้มีการโอนย้ายก่อนสิ้นสุดสัมทานผ่านทางสื่อสิงพิมพ์และSMS โดยปัจจุบันมียอดลูกค้ายังไม่ได้มีการโอนย้ายจำนวน 17-18 ล้านราย
"เราได้มีการเจรจากับ Truemove และ DPC ตามแผนเยียวยาของกสทช.หลังสิ้นสุดสัมปทานคลื่น 1800 เพื่อไม่ให้ลูกค้าเกิดปัญหาในการใข้งาน เราก็มีมาตรการต่างๆมาดูแลลูกค้าและให้บริการติดต่อสื่อสารต่างๆ เราช่วยดูแลลูกค้ากันทั้ง 2 ฝั่ง ลูกค้าที่ใช้โปรโมชั่นเดิมอยู่ก็ยังใช้โปรโมชั่นตามเดิมได้ จ่ายเงินก็ยังติดต่อได้ทั้งเราและผู้ให้บริการเดิม เพื่อไม่ให้ลูกค้าเกิดปัญหา เรามีการแจ้งให้ Truemove และ DPC แจ้งลูกค้าผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆและ SMS เพื่อให้ลูกค้าทราบ โดยยอดลูกค้าที่ยังไม่ได้โอนย้ายประมาณ 17-18 ล้านราย แต่จะเริ่มลดลงเรื่อยๆ"นางสาวธันวดี กล่าว
นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท. เปิดเผยว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างชี้แจงแผนการดำเนินงานโครงการ HSPA กับนอ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยคาดว่ากระทรวงฯ จะเสนอครม.ในเดือน ก.ย.นี้
ส่วนผลประกอบการ 7 เดือนที่ผ่านมา กสท.ในภาพรวมดีกว่าปีก่อนและดีกว่าแผนที่วางไว้ ทั้งผลการดำเนินงานที่รวมรายได้สัมปทานและไม่รวมรายได้สัมปทาน โดยกสท.มีรายได้ในส่วนที่รวมรายได้สัมปทานจำนวน 30,211 ล้านบาท และมีกำไร 10,797 ล้านบาท ซึ่งดีขึ้นกว่าปี 55 เล็กน้อย ส่วนรายได้ไม่รวมรายได้จากสัมปทาน 7 เดือนอยู่ที่ 8,945 ล้านบาท และขาดทุน 2,655 ล้านบาท ซึ่งขาดทุนน้อยกว่าแผนที่ตั้งขาดทุนไว้ที่ 3,636 ล้านบาท ขณะที่โครงการ HSPA ซึ่งยังไม่ได้รับอนุมัติจากครม.ทำให้ยังไม่สามารถบันทึกบัญชีได้ ซึ่งถ้าโครงการได้อนุมัติ จะทำให้รายได้ 7 เดือนไม่รวมรายได้สัมปทานอยู่ที่ 19,000 ล้านบาท และขาดทุน 407 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทคาดว่ารายได้สิ้นปี 57 รวมรายได้จากสัมปทานและโครงการ HSPA กว่า 40,000 ล้านบาท และกำไรอยู่ที่ 15,000 ล้านบาท ส่วนรายได้ที่รวมรายได้สัมปทานแต่ไม่รวมรายได้จากโครงการ HSPA อยู่ที่ 15,000 ล้านบาท ขาดทุน 3,500 ล้านบาท ซึ่งขาดทุนน้อยกว่าแผนที่คาดว่าขาดทุน 5,800 ล้านบาท และในส่วนรายได้ที่รวมรายได้จากโครงการ HSPA แต่ไม่รวมรายได้จากสัมปทานอยู่ที่ 35,657 ล้านบาท มีกำไร 635 ล้านบาท