ทั้งนี้ KBANK จะร่วมกับธนาคารพันธมิตรกว่า 30 แห่ง จากเกาหลี เยอรมนี อิตาลี เวียดนาม อินโดนีเซีย กัมพูชา และลาว ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ นำเสนอต่อผู้ประกอบการไทยและต่างชาติที่มีความต้องการลงทุนในประเทศต่างๆ รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยจะอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าเข้ามาใช้สถานที่ในพื้นที่ของธนาคารพันธมิตรในการติดต่อธุรกิจต่างประเทศ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 บริษัท ทั้งจากอุตสาหกรรมอาหาร เทคโนโลยีอาหาร และอุปโภคบริโภค เชื่อว่าจะมีการจับคู่ธุรกิจกว่า 400 ราย อาเซียนยังเป็นเป้าหมายการลงทุนที่น่าสนใจของนักลงทุนทั่วโลก เนื่องจากเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีศักยภาพสูงในระยะยาว โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าจีดีพีของอาเซียนในปีนี้จะมีการเติบโตประมาณ 4.7-5.3 % โดยมีกรณีฐานที่ 5.1 % อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3.9-4.2% ปัจจุบันประเทศในอาเซียนมีการแข่งขันดึงดูดเม็ดเงินจากต่างประเทศ เช่นญี่ปุ่น ยุโรป และจีน โดยในแต่ละประเทศจึงมีข้อได้เปรียบและคสามพร้อมที่ไม่เท่ากัน โดยมีปัจจัยหลักจากค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้น ค้าเช่าอสังหาริมทรัพย์การเปิดกว้างของนโยบายการลงทุน แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนจากนักลงทุนยังถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ
นายทรงพล กล่าวอีกว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีจะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัว ตามภาวะศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวได้ไม่แข็งแรงนัก ส่งผลให้การส่งออกในกลุ่มประเทศหลักอย่างสหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป และจีน ขยายตัวได้ค่อนข้างต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม ยังได้รับปัจจัยหนุนจากการค้าขายระหว่างประเทศในภูมิภาคที่มีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
ธนาคารมองว่าภายในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า การส่งออกของไทย จะกลับมาเป็นปัจจัยหลักในการหนุนเศรษฐกิจไทยให้มีการเติบโตได้ โดยมองว่า 3 ตลาดที่สำคัญ ทั้งตลาดประเทศอุตสาหกรรมหลัก คือสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ยุโรป และจีน กลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแรงมากขึ้นในปี 57 ในขณะเดียวกันตลาดอาเซียนที่มีมูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยะงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นต่อ รวมทั้งการขยายตลาดการส่งออกไปยังตลาดเกิดใหม่ เช่น แอฟริกา รัสเซีย ที่มีแนวโน้มการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น มองว่าจะเป็นจะเป็นกำลังซื้อที่สำคัญที่ผลักดันการส่งออกให้มีการเติบโตมากขึ้นในปีหน้าและปีต่อๆไป
นายทรงพล กล่าวต่อว่า เพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจใน 3 ประเทศหลักที่เศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัว ประตลาดใหม่ที่จะมีความต้องการการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยเพิ่มขึ้น ไทยจึงมีความจำเป็นต้องเร่งพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และเริ่มใช้ศักยภาพของตลาดในการเป็นครัวไทยสู่ครัวโลก รวมถึงจุดเด่นในการเป็นศูนย์กลางภูมิภาค พัฒนาระบบโลจิสติกส์มีมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อที่จะเชื่อมโยงการค้าและเพิ่มมูลค้าการซื้อขายระหว่างกันให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมองว่าในอนาคตการซื้อขายในภูมิภาคจะเป็นตลาดที่สำคัญในการเติบโตของประเทศ