สำหรับกองทุน FAM FIPR6M3 เป็นกองทุนที่โรลโอเวอร์มาจากการขายกองทุนก่อนหน้านี้ เป็นกองทุน Specific fund โดยกองทุนจะพิจารณาลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงินและ/หรือ เงินฝากของภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ เงินฝากธนาคารต่างประเทศสกุลเงิน USD, CNY, HKD, EUR, JPY กับธนาคาร BOC (Macau), Standard Chartered Bank (Hong Kong), ธนาคาร CIMB Niaga (Indonesia), Akbank T.A.S. (Malta) หรือเงินฝากสกุลเงิน AED ธนาคาร Abu Dhabi Commercial Bank, UAE (F1), ธนาคาร Union National Bank, UAE(P-1),
ตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ, ตั๋วแลกเงิน บมจ.ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) (BBB), ตั๋วแลกเงิน บมจ.เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง(BBB+), บมจ.บัตรกรุงไทย (BBB+), ตั๋วแลกเงิน บมจ.ราชธานีลิสซิ่ง (BBB+), บมจ.อีซี่บาย (BBB+), บจ.บีเอสแอล ลีสซิ่ง(BBB) หรือตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB ขึ้นไป, ตั๋วเงินคลัง หรือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ทั้งนี้ บลจ.ฟินันซ่า ประเมินว่า จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากระดับ 2.50% ต่อปี สู่ระดับ 2.25% ต่อปี เนื่องจากตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในไตรมาส 3/56 ขยายตัวต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้มาก ในขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงสินเชื่อภาคครัวเรือนที่ชะลอตัวลง ทำให้ทาง กนง.สามารถผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเพิ่มเติมได้หากยังไม่มีสัญญาณที่จะฟื้นตัวเศรษฐกิจในช่วงต่อไป กอปรกับธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) เริ่มมีความเป็นไปได้สูงที่จะลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE Tapering) เร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ เป็นผลให้ดอกเบี้ยระยะยาวจะค่อยทยอยปรับขึ้น