รายอื่น ๆ ได้แก่ บริษัทในกลุ่ม บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น(TRUE) บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่(GRAMMY) บมจ.บีอีซีเวิลด์(BEC) บมจ.อาร์เอส(RS) บมจ.โมโน เทคโนโลยี (MONO) บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป(NMG)
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.ประกาศผลการประมูลรอบสองในช่วงบ่ายวันนี้ เป็นการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลช่องทั่วไป SD จำนวน 7 ใบอนุญาต และมีผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูล 16 ราย ปรากฎว่าผู้มีสิทธิชนะ 7 ราย คือ บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด (บริษัทในกลุ่ม WORK)เป็นผู้เสนอราคาสูงสุดที่ 2,355 ล้านบาท อันดับ 2 บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด เสนอราคาสุดท้ายที่ 2,315 ล้านบาท อันดับ 3 คือ บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล จำกัด (บริษัทในกลุ่ม GRAMMY) เสนอราคา 2,290 ล้านบาท
อันดับที่ 4 คือ บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (บริษัทในกลุ่ม BEC) เสนอราคาที่ 2,275 ล้านบาท อันดับที่ 5 คือ บริษัท อาร์ เอส เทเลวิชั่น จำกัด (บริษัทในกลุ่ม RS) เสนอราคาสุดท้ายที่ 2,265 ล้านบาท อันดับที่ 6 คือ บริษัท โมโน บรอดคาสซท์ จำกัด (บริษัทในกลุ่ม MONO) เสนอราคาที่ 2,250 ล้านบาท อันดับที่ 7 คือ บริษัทแบงคอก บิสสิเนส บรอดคาสติ้ง จำกัด (บริษัทในกล่ม NMG)เสนอราคาที่ 2,200 ล้านบาท ซึ่งมีการไล่เคาะราคาขึ้นมาห่างจากอันดับที่ 8 เพียง 5 ล้านบาท ในนาทีสุดท้าย
ส่วนอีก 9 รายที่ไม่ได้รับใบอนุญาต ได้แก่ บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด (บริษัทในกลุ่ม AMARIN) บริษัท โฟร์วันวัน เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (ของตระกูลมหากิจศิริ) บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด (ไทยรัฐทีวี) บริษัท ไทยทีวี จำกัด บริษัท ทัช ทีวี จำกัด (บริษัทในกลุ่ม INTUCH) บมจ. อสมท.(MCOT) บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด (บริษัทในกลุ่มช่อง7) บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด